กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6669
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorนันทพร ภัทรพุทธ
dc.contributor.advisorศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
dc.contributor.authorจิตติมา จันทร์อุไร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:14:58Z
dc.date.available2023-05-12T03:14:58Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6669
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมเสี่ยง ในการรับสัมผัสสารเคมี และศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมเสี่ยงในการรับสัมผัสสารเคมีของพนักงานในสถานประกอบการซ่อมและเคาะพ่นสีรถยนต์ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานในสถานประกอบซ่อมและเคาะพ่นสี 8 แห่งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 215 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติไคสแควร์สถิติสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มอายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี ร้อยละ 36.3 โดยมีค่าเฉลี่ยอายุเท่ากับ 36 ปี ร้อยละ 32.1 สำเร็จการศึกษาะดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 30.2 ทำงานในตำแหน่งช่างพ่นสี ร้อยละ 84.7 ทำงานสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง โดยเฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อวัน และร้อยละ 47.4 มีประสบการณ์ทำงานอยู่ในช่วง 1-5 ปี มีระดับคะแนนความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากสารเคมี อยู่ในระดับดี ร้อยละ 32.1 มีระดับคะแนนการรับรู้ในการรับสัมผัสสารเคมีอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 37.7 ได้รับการอบรมในระดับมาก ร้อยละ 75.3 ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกัน อันตรายส่วนบุคคลในระดับสูง ร้อยละ 85.1 ได้รับการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.8 และมีพฤติกรรมเสี่ยงในการรับสัมผัสสารเคมีอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 58.1 และพบว่า ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากสารเคมี การได้รับการอบรม การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และการได้รับการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมเสี่ยงในการรับสัมผัสสารเคมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001) แต่การรับรู้ในการรับสัมผัสสารเคมี มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเสี่ยงในการรับสัมผัสสารเคมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< .01) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากสารเคมี การรับรู้ในการรับสัมผัสสารเคมี และการได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมเสี่ยงในการรับสัมผัสสารเคมีของพนักงานในสถานประกอบการซ่อมและเคาะพ่นสีรถยนต์ได้ร้อยละ 30.8 (p-value < .001) โดยที่ปัจจัยการได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลมากที่สุด ดังนั้น สมการถดถอยพหุคูณที่ใช้อธิบายพฤติกรรมเสี่ยงในการรับสัมผัสสารเคมีในพนักงานซ่อมและเคาะพ่นสีรถยนต์ คือ สมการถดถอยในรูปของคะแนนดิบ (β) Y = 35.268 -3.129X1 -1.496X2 + 0.950X3 สมการถดถอยในรูปของคะแนนมาตรฐาน (Beta) Y = -0.369X1 – 0.303X2 + 0.232X3
dc.language.isoth
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการพ่นสี
dc.subjectสารเคมี -- มาตรการความปลอดภัย
dc.subjectสารเคมี -- การป้องกันและควบคุม
dc.subjectสารเคมี -- การจัดการ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.titleปัจจัยทำนายพฤติกรรมเสี่ยงในการรับสัมผัสสารเคมีของพนักงานในสถานประกอบการซ่อมและเคาะพ่นสีรถยนต์ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
dc.title.alternativeFctors predicting risk behvior for chemicl exposure mong workers in repir nd spry pinting shop in bngkok
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research study was a cross-sectional survey. The objectives of this research were to analyze the risk behavior for chemical exposure and studying the factor predicting risk behavior for chemical exposure among workers in repair and spray painting shop in Bangkok. The sample was used in the study of 215 in repair and spray painting shop in Bangkok. Data were collected during March to May 2017 with the questionnaire developed by the researcher. The descriptive statistics, Chi-square, Pearson’s product moment correlation and Stepwise Multiple Regression Analysis. The results showed that the majority of respondents were aged 36-40 years, 36.3% with the average age of 36 years, 32.1%, 30.2% had secondary education, 84.7% Work 48 hours a week, on average 8 hours per day, and 47.4 percent. Experienced in the last 1-5 years with a level of knowledge of chemical hazards. At 32.1 percent, the level of recognition of exposure to chemicals was high, with 75.3 percent receiving high level of personal protective equipment. 85.1% had social support at a moderate level, 49.8% and 58.1% had low risk behaviors. It was found that the use of knowledge of chemical hazards, training, personal protective equipment. And social support there was a statistically significant negative correlation (p-value < .001). Where factors were supported personal protective equipment was the most influential variables. The stepwise multiple ช regression equation used to describe risk behaviors in chemical exposure in repair and paint sprayers was The regression equation in the form of raw scores (β) Y = 35.268 -3.129X1 -1.496X2 + 0.950X3 The standard regression equation (Beta) Y = -0.369X1 -0.303X2 + 0.232X3
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น