กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6668
ชื่อเรื่อง: | ประสิทธิผลของการจัดการด้านความปลอดภัยในการขับขี่เชิงป้องกันต่อการลดอุบัติการณ์ทางถนนของพนักงานขับรถจัดส่งสินค้า บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effectiveness of sfety mngement for defensive driving to reduce rod incidents mong distributing drivers in privte compny, chonburiprovince |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นันทพร ภัทรพุทธ ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์ สิทธิชัย สิงห์สุ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ความปลอดภัยในท้องถนน คนขับรถ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ทางถนนของพนักงานขับรถจัดส่งสินค้า เพื่อศึกษาผลของการจัดการด้านความปลอดภัยในการขับขี่เชิงป้องกัน และเพื่อเปรียบเทียบความถี่และความรุนแรงของอุบัติการณ์ทางถนนก่อนและหลังการสร้างการจัดการด้านความปลอดภัยในการขับขี่เชิงป้องกันประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือพนักงานขับรถจัดส่งสินค้า บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี จำนวน 35 คน หากลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาตามคุณสมบัติของการวิจัยและกลุ่มตัวอย่างที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย ทำการศึกษาระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2560 ดำเนินการสร้างโปรแกรมการจัดการด้านความปลอดภัยในการขับขี่เชิงป้องกันใน 4 ประเด็นได้แก่นโยบายความปลอดภัยในการขับขี่เชิงป้องกัน การสื่อสารด้านความปลอดภัย การตรวจสอบความปลอดภัยและการฝึกอบรม ผลการศึกษา พบว่า หลังการสร้างโปรแกรม ฯ การเกิดอุบัติการณ์ทางถนนลดลงร้อยละ 51.16 ผลการเปรียบเทียบอุบัติการณ์ทางถนนก่อนและหลังการสร้างโปรแกรม ฯ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ (p<0.05) และผลการประเมินการจัดการด้านความปลอดภัยในการขับขี่ เชิงป้องกัน พบว่า ภายหลังการสร้างโปรแกรม ฯ มีคะแนนเฉลี่ยการจัดการด้านความปลอดภัยในการขับขี่เชิงป้องกันอยู่ในระดับที่สูงมากกว่า ก่อนการสร้างโปรแกรม ฯ และผลการเปรียบเทียบการจัดการด้านความปลอดภัยในการขับขี่เชิงป้องกัน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ (p<0.05) ดังนั้น ควรมีการสร้างการจัดการด้านความปลอดภัยในการขับขี่เชิงป้องกันในบริษัทแห่งนี้ต่อไปเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ทางถนนและควรศึกษาเพิ่มการศึกษาในรูปแบบการบริหารความเสี่ยงหรือความล้าของพนักงานขับรถเพื่อให้ทราบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาและอุปสรรคในการทำงานซึ่งจะสามารถนำมาใช้ควบคุมป้องกันอุบัติการณ์ได้อย่างเป็นระบบต่อไป |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6668 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 972.38 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น