กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6663
ชื่อเรื่อง: | การประเมินผลของอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในการลดความเสี่ยงของกล้ามเนื้อและกระดูกในผู้ช่วยพยาบาลของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | An evlution of the lterl ptient trnsfer device to reduce musculoskeletl risk mong prcticl nurses in hospitl of chonburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปวีณา มีประดิษฐ์ ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข กาญจนา ปัญญาดี มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ผู้ป่วย -- การดูแล มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ผู้ช่วยพยาบาล |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเป็นงานที่ต้องใช้แรง ซึ่งมีความเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อและกระดูก ปัจจุบันผู้ช่วยพยาบาลมีหน้าที่สำคัญในการช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การใช้อุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้าย ผู้ป่วยจะช่วยลดความเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อและกระดูกได้ การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยวัดผลก่อนและหลังการใช้อุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยวัดผลซ้ำทุกสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงของกล้ามเนื้อและกระดูกของผู้ช่วยพยาบาลของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเงื่อนไขที่กำหนด จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินความเสี่ยงด้วยวิธี RULA แบบสัมภาษณ์ที่ปรับปรุงมาจากแบบสอบถามความรู้สึกปวดกล้ามเนื้อและกระดูกนอร์ดิก เครื่องวัดแรงเหยียดของกล้ามเนื้อหลังและเครื่องวัดแรงบีบมือ ผลการวิจัยพบว่าอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ออกแบบนี้ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของกล้ามเนื้อและกระดูก ได้แก่ ช่วยลดความเสี่ยงของท่าทางการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P= .000) และช่วยลดความรู้สึกปวดกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณบ่า/ ไหล่ทั้งสองข้างได้ ส่วนแรงเหยียดของกล้ามเนื้อหลังและแรงบีบมือ พบว่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=.000) และช่วยลดความรู้สึกปวดกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณบ่า/ ไหล่ทั้งสองข้างได้ ส่วนแรงเหยียดของกล้ามเนื้อหลังและแรงบีบมือ พบว่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) การศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับโรงพยาบาลต่าง ๆ ในการนำอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยนี้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่การปฏิบัติงานต่อไป |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6663 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.27 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น