Abstract:
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเป็นงานที่ต้องใช้แรง ซึ่งมีความเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อและกระดูก ปัจจุบันผู้ช่วยพยาบาลมีหน้าที่สำคัญในการช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การใช้อุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้าย ผู้ป่วยจะช่วยลดความเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อและกระดูกได้ การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยวัดผลก่อนและหลังการใช้อุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยวัดผลซ้ำทุกสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงของกล้ามเนื้อและกระดูกของผู้ช่วยพยาบาลของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเงื่อนไขที่กำหนด จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินความเสี่ยงด้วยวิธี RULA แบบสัมภาษณ์ที่ปรับปรุงมาจากแบบสอบถามความรู้สึกปวดกล้ามเนื้อและกระดูกนอร์ดิก เครื่องวัดแรงเหยียดของกล้ามเนื้อหลังและเครื่องวัดแรงบีบมือ ผลการวิจัยพบว่าอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ออกแบบนี้ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของกล้ามเนื้อและกระดูก ได้แก่ ช่วยลดความเสี่ยงของท่าทางการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P= .000) และช่วยลดความรู้สึกปวดกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณบ่า/ ไหล่ทั้งสองข้างได้ ส่วนแรงเหยียดของกล้ามเนื้อหลังและแรงบีบมือ พบว่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=.000) และช่วยลดความรู้สึกปวดกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณบ่า/ ไหล่ทั้งสองข้างได้ ส่วนแรงเหยียดของกล้ามเนื้อหลังและแรงบีบมือ พบว่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) การศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับโรงพยาบาลต่าง ๆ ในการนำอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยนี้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่การปฏิบัติงานต่อไป