กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6663
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorปวีณา มีประดิษฐ์
dc.contributor.advisorทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
dc.contributor.authorกาญจนา ปัญญาดี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:14:57Z
dc.date.available2023-05-12T03:14:57Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6663
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเป็นงานที่ต้องใช้แรง ซึ่งมีความเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อและกระดูก ปัจจุบันผู้ช่วยพยาบาลมีหน้าที่สำคัญในการช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การใช้อุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้าย ผู้ป่วยจะช่วยลดความเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อและกระดูกได้ การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยวัดผลก่อนและหลังการใช้อุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยวัดผลซ้ำทุกสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงของกล้ามเนื้อและกระดูกของผู้ช่วยพยาบาลของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเงื่อนไขที่กำหนด จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินความเสี่ยงด้วยวิธี RULA แบบสัมภาษณ์ที่ปรับปรุงมาจากแบบสอบถามความรู้สึกปวดกล้ามเนื้อและกระดูกนอร์ดิก เครื่องวัดแรงเหยียดของกล้ามเนื้อหลังและเครื่องวัดแรงบีบมือ ผลการวิจัยพบว่าอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ออกแบบนี้ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของกล้ามเนื้อและกระดูก ได้แก่ ช่วยลดความเสี่ยงของท่าทางการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P= .000) และช่วยลดความรู้สึกปวดกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณบ่า/ ไหล่ทั้งสองข้างได้ ส่วนแรงเหยียดของกล้ามเนื้อหลังและแรงบีบมือ พบว่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=.000) และช่วยลดความรู้สึกปวดกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณบ่า/ ไหล่ทั้งสองข้างได้ ส่วนแรงเหยียดของกล้ามเนื้อหลังและแรงบีบมือ พบว่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) การศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับโรงพยาบาลต่าง ๆ ในการนำอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยนี้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่การปฏิบัติงานต่อไป
dc.language.isoth
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectผู้ป่วย -- การดูแล
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.subjectผู้ช่วยพยาบาล
dc.titleการประเมินผลของอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในการลดความเสี่ยงของกล้ามเนื้อและกระดูกในผู้ช่วยพยาบาลของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี
dc.title.alternativeAn evlution of the lterl ptient trnsfer device to reduce musculoskeletl risk mong prcticl nurses in hospitl of chonburi province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeMoving patients is a task that requires force, and poses musculoskeletal risk among practical nurses. The use of an equipment to assist patient lifting and transferring can reduce musculoskeletal risk. This study was a quasi-experimental research measuring the effectiveness of a patient moving device for a period of 4 weeks among practical nurses in a hospital of Chonburi province. The 33 subjects were selected based on the inclusion criteria. The data were collected by the questionnaire, the rapid upper limb assessment (RULA) tool, the Standardized Nordic Questionnaire, back dynamometer and handgrip dynamometer. The results showed that the patient moving device could reduce musculoskeletal risk which included work posture significantly (P= .000). The musculoskeletal pain in the neck/ shoulder on both sides decreased. However, backstretch and handgrip strength of the subjects did not change (P< .05). This study could be used as a practical basis for hospitals to bring in the equipment for assisting moving of patients.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น