กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6622
ชื่อเรื่อง: | ผลของสารอัลลีโลพาธีจากใบผักแครด (Synedrella nodiflora (L.) Gaertn.) ต่อสรีรวิทยาการงอกของเมล็ดข้าว (Oryza sativa L.) และกวางตุ้ง (Brassica chinensis jusl var parachinensis (Bailey) tsen & lee) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effect of llelopthic from synedrell nodiflor (l.) gertn. on seed germintion physiology of oryzstiv l. nd brssic chinensis jusl vr prchinensis (biley) tsen & lee |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภาคภูมิ พระประเสริฐ ยุวะธิดา กิ่งทอง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ข้าว -- เมล็ดพันธุ์ กวางตุ้ง (พืช) มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ศึกษาผลของสารสกัดจากใบผักแครด (Syne drella nodiflora (L.) Gaertn.) ด้วยเอทานอล 95% ต่อการงอกและการเจริญเติบโตของข้าว (Oryza sativa L.) และกวางตุ้ง (Brassica chinensis Jusl var parachinensis (Bailey) Tsen & Lee) พบว่า สารสกัดจากใบผักแครดสามารถยับยั้งการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวและกวางตุ้งได้โดยการยับยั้งมากขึ้นเมื่อความเข้มข้นของสารสกัดเพิ่มขึ้น และพบว่าความเข้มข้นของสารสกัดที่สามารถยับยั้งการงอกของเมล็ดข้าวและกวางตุ้งได้ 50 เปอร์เซ็นต์ (IC50) มีค่า 15.16 และ 2.96 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ เมื่อนำ สารสกัดที่ IC50ไปหาค่า osmotic potential (ΨS) พบว่ามีค่าเท่ากับ -0.19 และ -0.08 MPa ตามลำดับ จากนั้นทำการศึกษาผลของ ΨS ของสารสกัดต่อการงอกและการเจริญเติบโตของข้าวและกวางตุ้ง โดยเปรียบเทียบกับสารละลายซูโครส โซเดียมคลอไรด์ และโพแทสเซียมไนเตรด ที่มีค่า ΨS เท่ากับสารสกัด พบว่าที่ ΨS ดังกล่าวของสารละลายซูโครส โซเดียมคลอไรด์และโพแทสเซียมไนเตรดไม่มีผลยับยั้งการงอกของข้าวและกวางตุ้ง ในขณะที่เมล็ดที่ได้รับสารสกัดมีการงอกและการเจริญเติบโตลดลง จึงสรุปได้ว่า ΨSของสารสกัดไม่มีผลต่อการยับยั้งการงอกของข้าวและกวางตุ้งเมื่อทดสอบการดูดน้ำของเมล็ด พบว่า สารสกัดไม่มีผลยับยั้งการดูดน้ำของเมล็ด และเมื่อนำเมล็ดข้าวและกวางตุ้งที่แช่ในสารสกัดเป็นเวลา 7 วัน มาตรวจสอบปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์แป้งและโปรตีนในเมล็ด พบว่า ในเมล็ดข้าวมีปริมาณน้ำตาลและโปรตีนต่ำกว่าชุดควบคุม ในขณะที่ปริมาณแป้งสูงกว่าชุดควบคุม ส่วนในเมล็ดกวางตุ้ง มีปริมาณน้ำตาลต่ำกว่าชุดควบคุม ปริมาณแป้งและโปรตีนสูงกว่าชุดควบคุม และจากการศึกษากิจกรรมของเอนไซม์ α-amylase ในเมล็ดข้าวและกวางตุ้ง พบว่า เมล็ดข้าวที่ได้รับสารสกัดมีกิจกรรมต่ำกว่าชุดควบคุม ในขณะที่เมล็ดกวางตุ้งมีกิจกรรมไม่แตกต่างจากชุดควบคุม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6622 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.77 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น