กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6613
ชื่อเรื่อง: การศึกษาทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพจากพืชสกุล Xylocarpus
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Chemistry nd biologicl ctivity studies from plnt in the genus xylocrpus
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนันต์ อธิพรชัย
ศิริพร จิ๋วสุวรรณ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: สารประกอบฟีนอล
อนุมูลอิสระ
เคมี
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเคมีศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: พืชในสกุล Xylocarpus ประกอบด้วยตะบูนขาว (Xylocarpus granatum) และตะบูนดำ (Xylocarpus moluccensis) จัดเป็นพืชป่าชายเลนในวงศ์เลี่ยน นำมาใช้เป็นยาพื้นบ้านในการรักษา โรคอหิวาตกโรคโรคท้องร่วงและแก้ไข้ในการศึกษานี้เป็นการทดสอบหาปริมาณสารประกอบ ฟีนอลิกรวม สารประกอบฟลาโวนอยด์รวม ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสของตะบูนขาวและตะบูนดำ จากผลการศึกษาพบว่าตะบูนขาวมีปริมาณฟีนอลิกรวม (5.33±0.25 ถึง 757.42±17.20 mgGAE/g) สูงกว่าตะบูนดำ (3.68±0.49ถึง 502.18±8.75 mgGAE/g) โดยสารสกัดหยาบจากเนื้อไม้ของตะบูนทั้ง 2 ชนิด มีปริมาณฟีนอลิกรวมสูงที่สุด และเมื่อศึกษา ปริมาณฟลาโวนอยด์รวมของตะบูนทั้ง 2 ชนิด พบว่าตะบูนทั้ง 2 ชนิด มีปริมาณฟลาโวนอยด์รวม น้อยมาก นอกจากนี้เมื่อนำทุกส่วนสกัดหยาบของตะบูนทั้ง 2 ชนิดไปทดสอบฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสระ พบว่า ตะบูนขาวมีฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสระ DPPH (DPPH radical scavenging)ได้ดีกว่าตะบูนดำในทุกส่วนสกัดนอกจากนี้ยังพบว่า ส่วนสกัดหยาบของตะบูนขาวยังมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ แอลฟา-กลูโคซิเดสที่ดีที่สุด (9.65±0.68 ถึง 99.66±0.17%) และดีกว่าสารมาตรฐานอคาร์โบส (84.27±0.95%) อีกด้วย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6613
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น