กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6588
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคมของนักเรียนอาชีวศึกษาโดยใช้โปรแกรมฝึกทักษะชีวิต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of emotionl nd socil intelligence mong voctionl students using life skills trining progrm
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปริญญา เรืองทิพย์
กนก พานทอง
วิริยะ ผดาศรี
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: ความฉลาดทางสังคม
ความฉลาดทางอารมณ์
นักเรียนอาชีวศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมฝึกทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนอาชีวศึกษา และเปรียบเทียบผลการทดลองใช้โปรแกรมโดยพิจารณาคะแนนความฉลาดทางอารมณ์และ ความฉลาดทางสังคมหลังใช้โปรแกรม โปรแกรมประกอบด้วยการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมกลุ่มฝึกอบรม (Training Group) ร่วมกับการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) ซึ่งแต่ละกิจกรรม แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างประสบการณ์ (Concrete Experience) การสะท้อนการเรียนรู้ (Reflection Observation) การสรุปองค์ความรู้ (Abstract Conceptualization) และการประยุกต์ ความรู้ (Active Experimentation) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของ วิทยาลัยเทคโนโลยีพัทยาพณิชยการ จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2559 จำนวน 70 คน ใช้วิธีการสุ่ม อย่างง่าย จัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละเท่า ๆ กัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมฝึกทักษะชีวิต แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ และแบบวัดความฉลาดทาง สังคม วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติทดสอบที และวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. โปรแกรมฝึกทักษะชีวิตมีความเหมาะสมในระดับมาก สำหรับการฝึกนักเรียนอาชีวศึกษา 2. คะแนนความฉลาดทางอารมณ์ในกลุ่มทดลองหลังได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมฝึกทักษะ ชีวิตสูงกว่าก่อนได้รับการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. คะแนนความฉลาดทางสังคมในกลุ่มทดลองหลังได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมฝึกทักษะ ชีวิตสูงกว่าก่อนได้รับการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคมในกลุ่มทดลองหลังได้รับการฝึกด้วย โปรแกรมฝึกทักษะชีวิต สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมฝึกทักษะชีวิตที่พัฒนาขึ้น สามารถเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์และ ความฉลาดทางสังคมของนักเรียนอาชีวศึกษาได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6588
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น