กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6588
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorปริญญา เรืองทิพย์
dc.contributor.advisorกนก พานทอง
dc.contributor.authorวิริยะ ผดาศรี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned2023-05-12T03:08:58Z
dc.date.available2023-05-12T03:08:58Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6588
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมฝึกทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนอาชีวศึกษา และเปรียบเทียบผลการทดลองใช้โปรแกรมโดยพิจารณาคะแนนความฉลาดทางอารมณ์และ ความฉลาดทางสังคมหลังใช้โปรแกรม โปรแกรมประกอบด้วยการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมกลุ่มฝึกอบรม (Training Group) ร่วมกับการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) ซึ่งแต่ละกิจกรรม แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างประสบการณ์ (Concrete Experience) การสะท้อนการเรียนรู้ (Reflection Observation) การสรุปองค์ความรู้ (Abstract Conceptualization) และการประยุกต์ ความรู้ (Active Experimentation) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของ วิทยาลัยเทคโนโลยีพัทยาพณิชยการ จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2559 จำนวน 70 คน ใช้วิธีการสุ่ม อย่างง่าย จัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละเท่า ๆ กัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมฝึกทักษะชีวิต แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ และแบบวัดความฉลาดทาง สังคม วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติทดสอบที และวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. โปรแกรมฝึกทักษะชีวิตมีความเหมาะสมในระดับมาก สำหรับการฝึกนักเรียนอาชีวศึกษา 2. คะแนนความฉลาดทางอารมณ์ในกลุ่มทดลองหลังได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมฝึกทักษะ ชีวิตสูงกว่าก่อนได้รับการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. คะแนนความฉลาดทางสังคมในกลุ่มทดลองหลังได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมฝึกทักษะ ชีวิตสูงกว่าก่อนได้รับการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคมในกลุ่มทดลองหลังได้รับการฝึกด้วย โปรแกรมฝึกทักษะชีวิต สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมฝึกทักษะชีวิตที่พัฒนาขึ้น สามารถเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์และ ความฉลาดทางสังคมของนักเรียนอาชีวศึกษาได้
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความฉลาดทางสังคม
dc.subjectความฉลาดทางอารมณ์
dc.subjectนักเรียนอาชีวศึกษา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.titleการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคมของนักเรียนอาชีวศึกษาโดยใช้โปรแกรมฝึกทักษะชีวิต
dc.title.alternativeThe development of emotionl nd socil intelligence mong voctionl students using life skills trining progrm
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to develop a life skills training program and to assess its effectiveness by examining scores on tests of emotional intelligence and social intelligence administered after training. The program consisted of a learning activity program combined with experimential learning, and involved four steps: concrete experience, observation reflection, abstract conceptualization, and active experimentation. Seventy vocational students from the Pattaya Business Administration College, Chonburi Province, volunteered to participate in the study in the year 2016. They were randomly assigned to experimental and control groups. The research instruments were life skills training program, emotional intelligence test and social intelligence test. Data were analysed by using t-tests and MANOVA. The results were as follows: 1. The life skills training program was judged suitable for training vocational students. 2. The experimental group had significantly higher emotional intelligence scores after training (p < .05). 3. The experimental group had significantly higher social intelligence scores after training (p < .05). 4. The scores of emotional intelligence and social intelligence in the experimental group were significantly higher than those of the control group after training (p < .05).
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น