กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6587
ชื่อเรื่อง: | การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและความเร็วในการลุกขึ้นยืนโดยใช้โปรแกรมควบคุมจินตภาพการเคลื่อนไหวร่วมกับการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ : การศึกษาคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อและคลื่นไฟฟ้าสมอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Incresing lower extremity muscle strength nd the speed of sit-to-stnd by using motor imgery control combined with exercise progrm in older dults: electromyogrphy nd electroencephlogrphy studies |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เสรี ชัดแช้ม ปรัชญา แก้วแก่น บุญรัตน์ โง้วตระกูล มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
คำสำคัญ: | กล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมควบคุมจินตภาพการเคลื่อนไหวร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและความเร็วในการลุกขึ้นยืนในผู้สูงอายุ และเปรียบเทียบผลของการใช้โปรแกรมระหว่างกลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มควบคุมที่ใช้โปรแกรมการออกกำลังกายทั่วไป โปรแกรมประกอบด้วย 1) การหายใจแบบลึก 2) การหมุนภาพในใจ 3) การจินตภาพการลุกขึ้นยืน 4) การอบอุ่นร่างกาย 5) การออกกำลังกายแบบมีแรงต้านแบบก้าวหน้า และ 6)การคลายอุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุเพศหญิง ช่วงอายุ 60-74 ปี จากชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลบางทราย จังหวัดชลบุรี จำนวน 48 คน จัดเข้ากลุ่มโดยวิธีสุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 23 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน ใช้แบบแผนการวิจัยแบบวัดก่อนและหลังการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาด้วยเครื่อง Hand-held dynamometer วัดความเร็วในการลุกขึ้นยืน ด้วยวิธีทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้ง (Five Times Sit-to-Stand Test: FTSST) และบันทึกสัญญาณ คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อและคลื่นไฟฟ้าสมองด้วยระบบนิวโรสแกน (Neuroscan system) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที ผลการวิจัยปรากฎว่า รูปแบบโปรแกรมควบคุมจินตภาพการเคลื่อนไหวร่วมกับการออกกำลังกาย สามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและความเร็วในการลุกขึ้นยืน 5 ครั้ง มากกว่ากลุ่มควบคุม หลังฝึกด้วยโปรแกรม นอกจากนี้ความสูงของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อทิเบียลิสแอนทีเรียลดลงในขณะลุกขึ้นยืน และเปอร์เซ็นต์ อีอาร์ดีของคลื่นแอลฟาในสมองส่วนฟรอนทอล และส่วนเซ็นซอรีมอเตอร์ในการจินตภาพ การลุกขึ้นยืนในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม (p < .05) สรุปได้ว่า โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นให้ผลเชิงบวกต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขามากกว่าโปรแกรมการออกกำลังกายทั่วไป อาจเนื่องมาจากการจินตภาพ การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านแบบก้าวหน้า |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6587 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 8.7 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น