กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6587
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเสรี ชัดแช้ม
dc.contributor.advisorปรัชญา แก้วแก่น
dc.contributor.authorบุญรัตน์ โง้วตระกูล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned2023-05-12T03:08:57Z
dc.date.available2023-05-12T03:08:57Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6587
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมควบคุมจินตภาพการเคลื่อนไหวร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและความเร็วในการลุกขึ้นยืนในผู้สูงอายุ และเปรียบเทียบผลของการใช้โปรแกรมระหว่างกลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มควบคุมที่ใช้โปรแกรมการออกกำลังกายทั่วไป โปรแกรมประกอบด้วย 1) การหายใจแบบลึก 2) การหมุนภาพในใจ 3) การจินตภาพการลุกขึ้นยืน 4) การอบอุ่นร่างกาย 5) การออกกำลังกายแบบมีแรงต้านแบบก้าวหน้า และ 6)การคลายอุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุเพศหญิง ช่วงอายุ 60-74 ปี จากชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลบางทราย จังหวัดชลบุรี จำนวน 48 คน จัดเข้ากลุ่มโดยวิธีสุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 23 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน ใช้แบบแผนการวิจัยแบบวัดก่อนและหลังการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาด้วยเครื่อง Hand-held dynamometer วัดความเร็วในการลุกขึ้นยืน ด้วยวิธีทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้ง (Five Times Sit-to-Stand Test: FTSST) และบันทึกสัญญาณ คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อและคลื่นไฟฟ้าสมองด้วยระบบนิวโรสแกน (Neuroscan system) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที ผลการวิจัยปรากฎว่า รูปแบบโปรแกรมควบคุมจินตภาพการเคลื่อนไหวร่วมกับการออกกำลังกาย สามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและความเร็วในการลุกขึ้นยืน 5 ครั้ง มากกว่ากลุ่มควบคุม หลังฝึกด้วยโปรแกรม นอกจากนี้ความสูงของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อทิเบียลิสแอนทีเรียลดลงในขณะลุกขึ้นยืน และเปอร์เซ็นต์ อีอาร์ดีของคลื่นแอลฟาในสมองส่วนฟรอนทอล และส่วนเซ็นซอรีมอเตอร์ในการจินตภาพ การลุกขึ้นยืนในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม (p < .05) สรุปได้ว่า โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นให้ผลเชิงบวกต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขามากกว่าโปรแกรมการออกกำลังกายทั่วไป อาจเนื่องมาจากการจินตภาพ การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านแบบก้าวหน้า
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectกล้ามเนื้อขา
dc.subjectกล้ามเนื้อ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subjectการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
dc.titleการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและความเร็วในการลุกขึ้นยืนโดยใช้โปรแกรมควบคุมจินตภาพการเคลื่อนไหวร่วมกับการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ : การศึกษาคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อและคลื่นไฟฟ้าสมอง
dc.title.alternativeIncresing lower extremity muscle strength nd the speed of sit-to-stnd by using motor imgery control combined with exercise progrm in older dults: electromyogrphy nd electroencephlogrphy studies
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to develop a Motor Imagery Control Combined with Exercise Program (MICE) for increasing lower extremity muscle strength and the speed of sit-to-stand for older adults, and to compare program effectiveness with reference to a control group who received the General Exercise Program (GE). The MICE consists of deep breathing, mental rotation, sit-to-stand imagery task, warm up, progressive resistance exercise, and cool down steps. The participants were forty-eight older women aged 60-74 years from the senior citizens club, Bangsai sub-district, Chon Buri province, who were randomly assigned to the experimental group (n=23) and the control group (n=25). A randomized pretest and posttest active control group design was applied in this study. Lower extremity muscle strength was measured by hand-held dynamometer, speed of sit-to-stand was measured by the Five Times Sit-to-Stand Test (FTSST), and the Neuroscan system was used to collect signals of EMG and EEG. Data were analyzed by t-test. The results revealed that the MICE program enhanced the muscle strength of lower extremity and thespeed of FTSST when compared with outcomes measured in the control group. Moreover, the experimental group exhibited a decrease in amplitude of EMG (Tibialis anterior) during sit-to-stand tasks,and an enhancement of % ERD (Event-Related Desynchronization) of alpha waves at the frontal lobe and the sensorimotor area during sit-to-stand imagery task (higher than the control group after training, p < .05). These findings show that the developed program had more positive effects on the muscle strength than did general exercise and was probably due to the imagery movement and the progressive resistance exercise.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf8.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น