กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6557
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorอรรัมภา ไวยมุกข์
dc.contributor.advisorชัชชม อรรฆภิญญ์
dc.contributor.authorนภัสรา ฉัตรแก้วโพธิ์ทอง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:01:50Z
dc.date.available2023-05-12T03:01:50Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6557
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอยู่มากมายหลายฉบับ รวมทั้งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่มีความเกี่ยวข้องกับการดํารงชีวิตประจําวันของประชาชนแต่แม้พระราชบัญญัติฉบับนี้มีบทบัญญัติเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ตัวประชาชนและได้นํามาตรการเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนมาใช้โดยกําหนดให้ผู้ที่พบเห็นการกระทําความผิดเป็นผู้เสียหาย รวมทั้งกําหนดให้มีมาตรการจูงใจเรื่อง การแบ่งค่าปรับส่วนหนึ่งให้กับผู้แจ้งการกระทําความผิดก็ตาม แต่ประชาชนก็มิได้ให้ความสนใจและให้ความสําคัญในเรื่องดังกล่าว จึงทําให้การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมของไทยตามกฎหมายฉบับนี้ ไม่มีประสิทธิภาพ จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มีบทบัญญัติที่มีความเกี่ยวข้องกับการดํารงชีวิตประจําวันของประชาชนมากจนเกินไป รวมถึงเรื่องที่ประชาชนมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยเช่นการกําหนดให้การปล่อยต้นไม้รกรุงรัง ในที่ดินของตนเองเป็นความผิดหรือการกําหนดให้เจ้าของอาคารบ้านเรือนต้องดูแลให้ถนนหน้าบ้านของตนสะอาด มิฉะนั้นจะมีความผิดเป็นต้น จึงทําให้กฎหมายฉบับนี้ไม่มีการบังคับใช้กันอย่างจริงจัง เท่าที่ควรแม้ว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวจะมีวัตถุประสงค์ในการรักษาสภาพแวดล้อมอันเป็นการส่งเสริมให้การดํารงชีวิตประจําวันของประชาชนในสังคมมีมาตรฐานความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นก็ตาม สาเหตุสําคัญอีกประการหนึ่งที่ส่งผลให้พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวไม่ได้รับความสนใจในการบังคับใช้กฎหมายก็คือพระราชบัญญัตินี้มีบทลงโทษต่อผู้ฝ่าฝืนเพียงโทษปรับเล็กน้อยเท่านั้นโดยไม่มีโทษจําคุก จึงซึ่งทําให้ประชาชนไม่มีความเกรงกลัวที่จะกระทําฝ่าฝืนบทบัญญัติของพระราชบัญญัติฉบับนี้สําหรับในส่วนของภาครัฐ จากการศึกษาพบว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอํานาจบังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวส่วนมากก็ยังเพิกเฉยต่อการใช้อํานาจที่มีซึ่งส่งผลให้เป็นการสนับสนุนให้ประชาชนกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวไปโดยปริยาย และเมื่อประชาชน ดํารงชีวิตประจําวันไปโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติฉบับนี้จนกลายเป็นเรื่องปกติในสังคม ก็ยิ่งส่งผลให้กฎหมายฉบับนี้สิ้นสภาพบังคับใช้ไปในที่สุด
dc.language.isoth
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายมหาชน
dc.titleปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบังคับใช้พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
dc.title.alternativeProblems of public prticiption in the enforcement of the ct on mintennce of clenliness nd public order b.e. 2535
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThailand has many laws on environmental issuesincludingAct of cleanliness and tidiness of country, 1992. It islaw on the environment which is relevant to the daily lives of people but although the Act containsprovisions on the environment around them and taken measures regarding the participation of the people by the people who witnessed the crime is the victim. As well as incentives are set to sharing fines to notifier of offender. But the people did not pay attention and focus on this issue. As a result, enforcement of environmental laws under Thailand law is not as effective as it should From study found that Act ofcleanliness and tidiness of country, 1992 has provisions relevant to the daily lives of the people too much. Including people viewed as a trivial matter such as the release of clutter in their own land is guilty or requiring owners of buildings to ensure the street in front of their home is clean otherwise it would be wrong and so on. Therefore, this law is not enforced seriously as they should. Although the law is intended to protect the environment, encouraging them to everyday life of people in society have the standard of living and quality of life even better. Another important reason that caused such Act did not receive the attention of law enforcement is that this law is punishable by a fine against offenders only slightly, no jail which make people are not afraid to commit a violation of the provisions of this Act.For the public sector from study found that government officials who have the power to enforce the law in this Act are inaction of the authorities. As a result, public support for such an offense under the Act by default and when people living in violation of the Act. It is increasingly common in society even resulted in law enforcement to eventually ceases.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineกฎหมายมหาชน
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.68 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น