กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6547
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors ssocited with blood pressure control behvior in uncontrolled hypertensive ptients
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาภรณ์ ดีนาน
วัลภา คุณทรงเกียรติ
วราพร เนื่องคำ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ความดันเลือดสูง
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
ความดันเลือดสูง -- ผู้ป่วย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีการปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมความดันโลหิตไม่เหมาะสม จะทำให้ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ ส่งผลให้โรคมีความรุนแรงขึ้นและมีการทำลายอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ไต และตา การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมควบคุมความดันโลหิต จำแนกตาม เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย ความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพของครอบครัว และความไว้วางใจในบริการสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ และครอบครัว จำนวน 310 คู่ ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร มีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือ รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามเกี่ยวกับความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพของครอบครัว ความไว้วางใจในบริการด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย Independent t-test และ One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศแตกต่างกันมีพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แตกต่างกัน (t 308= -2.09, p= .04) กลุ่มที่มีดัชนีมวลกายแตกต่างกันและกลุ่มที่มีความไว้วางใจ ในบริการสุขภาพแตกต่างกันมีพฤติกรรมการออกกำลังกายแตกต่างกัน (ดัชนีมวลกาย: t 308= 2.08, p= .04; ความไว้วางใจในบริการสุขภาพ: t 307.97= 2.01,p= .04) การควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ในกลุ่มความเชื่อสุขภาพด้านการรับรู้ประโยชน์ของการรักษาและป้องกันโรค และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติตนที่แตกต่างกัน .05 (F2, 307= 3.82, p = .02) และ (F2, 307= 3.34, p = .04) ตามลำดับ แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต เมื่อจำแนก ตาม อายุ ความเชื่อสุขภาพด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค และพฤติกรรมสุขภาพของครอบครัว ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลและบุคลากรในทีมสุขภาพควรบูรณาการปัจจัย ที่มีความสำคัญต่อการควบคุมความดันโลหิต ได้แก่ เพศ ดัชนีมวลกาย ความเชื่อด้านสุขภาพ และความไว้วางใจในบริการด้านสุขภาพ ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงให้สามารถควบคุมความดันโลหิตได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6547
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น