กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6547
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorอาภรณ์ ดีนาน
dc.contributor.advisorวัลภา คุณทรงเกียรติ
dc.contributor.authorวราพร เนื่องคำ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:01:48Z
dc.date.available2023-05-12T03:01:48Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6547
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีการปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมความดันโลหิตไม่เหมาะสม จะทำให้ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ ส่งผลให้โรคมีความรุนแรงขึ้นและมีการทำลายอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ไต และตา การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมควบคุมความดันโลหิต จำแนกตาม เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย ความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพของครอบครัว และความไว้วางใจในบริการสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ และครอบครัว จำนวน 310 คู่ ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร มีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือ รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามเกี่ยวกับความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพของครอบครัว ความไว้วางใจในบริการด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย Independent t-test และ One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศแตกต่างกันมีพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แตกต่างกัน (t 308= -2.09, p= .04) กลุ่มที่มีดัชนีมวลกายแตกต่างกันและกลุ่มที่มีความไว้วางใจ ในบริการสุขภาพแตกต่างกันมีพฤติกรรมการออกกำลังกายแตกต่างกัน (ดัชนีมวลกาย: t 308= 2.08, p= .04; ความไว้วางใจในบริการสุขภาพ: t 307.97= 2.01,p= .04) การควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ในกลุ่มความเชื่อสุขภาพด้านการรับรู้ประโยชน์ของการรักษาและป้องกันโรค และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติตนที่แตกต่างกัน .05 (F2, 307= 3.82, p = .02) และ (F2, 307= 3.34, p = .04) ตามลำดับ แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต เมื่อจำแนก ตาม อายุ ความเชื่อสุขภาพด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค และพฤติกรรมสุขภาพของครอบครัว ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลและบุคลากรในทีมสุขภาพควรบูรณาการปัจจัย ที่มีความสำคัญต่อการควบคุมความดันโลหิต ได้แก่ เพศ ดัชนีมวลกาย ความเชื่อด้านสุขภาพ และความไว้วางใจในบริการด้านสุขภาพ ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงให้สามารถควบคุมความดันโลหิตได้
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความดันเลือดสูง
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
dc.subjectความดันเลือดสูง -- ผู้ป่วย
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้
dc.title.alternativeFctors ssocited with blood pressure control behvior in uncontrolled hypertensive ptients
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeHypertensive patients with inappropriate blood pressure control behavior cannot control their blood pressure. It will deteriorate their symptoms. Also, important organs such as brain, heart, renals, and eyes might be damaged. This descriptive research aimed to compare blood pressure control behavior mean scores of different gender, age, body mass index (BMI), health belief, familial health behavior, and trust in health care service among uncontrolled hypertensive patients. Participants were 310 pairs of hypertensive patients and their families visitting an out patient unit at Sirindhorn Hospital, Medical Service Department, Bangkok who met study inclusion criteria. They were selected by simple random sampling. Research instruments for data collection included patient characteristic record form and questionnaires regarding health belief, familial health behavior, trust in health care service, and blood pressure control behavior. Data were analyzed by independent t-test and one-way ANOVA. Results showed that participants with different genders had significantly different mean scores of eating behavior (t 308= -2.09, p= .04). Different groups of BMI and of trust in health care service had significantly different mean scores of exercise behavior (BMI: t 308= 2.08, p= .04; trust in health care service: t 307.97= 2.01,p= .04). Risk control behaviors showed statistically differences in group of health belief for about perceived benefit (F2, 307= 3.82, p = .02) and perceived barriers (F2, 307= 3.34, p = .04), However, different groups of age, health belief, perceived risks, perceived severity, and familial health behavior did not have significantly different mean scores of blood pressure control behavior. Findings suggest that health care providers should integrate use these significant factors (gender, BMI, health belief, and trust in health care service) in caring for uncontrolled hypertensive patients. This may help them control their blood pressure successfully
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น