กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6545
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของทหารเรือในจังหวัดนราธิวาส
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Influencing fctors of stress mong nvies in Nrthiwt Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ
ยุวดี ลีลัคนาวีระ
ชัชดา หลงพิมาย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ความเครียดในการทำงาน
ความเครียด (จิตวิทยา)
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลปฎิบัติชุมชน
ทหารเรือ -- ความเครียดในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: จากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเวลายาวนานมากกว่า 10 ปี ก่อให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงและความสูญเสียแก่ประชาชนและผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบ เรียบร้อยของประเทศ ซึ่งทหารเรือเป็นผู้ปฏิบัติงานที่เสี่ยงอันตรายในพื้นที่นี้การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของทหารเรือในจังหวัดนราธิวาส หน่วยเฉพาะกิจ นาวิกโยธินภาคใต้ ค่ายจุฬาภรณ์ ในช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 จํานวน 300 นาย กลุ่มตัวอย่างได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่ให้ตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคลแบบประเมินความเครียด เหตุการณ์กดดันในชีวิต ช่วงเวลา 1 ปี ที่ผ่านมา สัมพันธภาพในครอบครัว พฤติกรรมการเผชิญความเครียด และสิ่งแวดล้อม ในการทํางาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติสมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 29.25 ปี (SD = 10.37) ชั้นยศเป็นระดับชั้นประทวน ร้อยละ 63.70 สถานภาพสมรสโสด ร้อยละ 67.00 ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 85.30 สังกัดพรรคนาวิกโยธิน ร้อยละ 90.00 รายได้เฉลี่ยรวมต่อเดือน 19,304.76 บาท (SD = 6.70) และระยะเวลาในการออกปฏิบัติราชการที่นราธิวาสตั้งแต่วันที่มาจนถึงวันที่เก็บข้อมูลมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 1 ปี (IQR = 1 ปี) ระดับความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 67.34 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดแต่ไม่สามารถทํานายระดับความเครียด ได้แก่ ชั้นยศ (นายทหารชั้นประทวนหรือสัญญาบัตร) (r=-.11, p < .05) สถานภาพสมรส (สมรส หม้าย หย่า) ( r = -.18, p < .05) ระดับการศึกษา (ปริญญาตรีหรือสูงกว่า)( r = -.12, p < .05) รายได้ (r = -.10, p < .05) การเผขิญปัญหาด้วยการจัดการกับปัญหา (r = .21, p < .05) สัมพันธภาพในครอบครัว (r = -.27, p < .05) และเหตุการณ์กดดันในชีวิต (r = .23, p < .01) ปัจจัยทำนายความเครียดของกลุ่มตัวอย่าง คือ พฤติกรรมการเผชิญความเครยดแบบการจัดการกับอารมณ์ (B = 1.64, p < .01) ความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อมในการทำงาน (B = -0.09, p < .01) และอายุ (B = -0.04, p = .01) โดยปัจจัยเหล่านี้อธิบายความเครียดได้ร้อยละ 79.60 (R2 = .796, p < .01) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรด้านสุขภาพที่มีหน้าที่ดูแลทหารปฏิบัติราชการในพื้นที่เสี่ยง ควรประเมินความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของทหาร ส่งเสริมให้ทหารมีวิธีการเผชิญความเครียดที่เหมาะสม และควรแนะนำให้ทหารปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้สะดวกสบายและรู้สึกปลอดภัย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6545
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น