กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6545
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ
dc.contributor.advisorยุวดี ลีลัคนาวีระ
dc.contributor.authorชัชดา หลงพิมาย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:01:47Z
dc.date.available2023-05-12T03:01:47Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6545
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเวลายาวนานมากกว่า 10 ปี ก่อให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงและความสูญเสียแก่ประชาชนและผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบ เรียบร้อยของประเทศ ซึ่งทหารเรือเป็นผู้ปฏิบัติงานที่เสี่ยงอันตรายในพื้นที่นี้การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของทหารเรือในจังหวัดนราธิวาส หน่วยเฉพาะกิจ นาวิกโยธินภาคใต้ ค่ายจุฬาภรณ์ ในช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 จํานวน 300 นาย กลุ่มตัวอย่างได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่ให้ตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคลแบบประเมินความเครียด เหตุการณ์กดดันในชีวิต ช่วงเวลา 1 ปี ที่ผ่านมา สัมพันธภาพในครอบครัว พฤติกรรมการเผชิญความเครียด และสิ่งแวดล้อม ในการทํางาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติสมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 29.25 ปี (SD = 10.37) ชั้นยศเป็นระดับชั้นประทวน ร้อยละ 63.70 สถานภาพสมรสโสด ร้อยละ 67.00 ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 85.30 สังกัดพรรคนาวิกโยธิน ร้อยละ 90.00 รายได้เฉลี่ยรวมต่อเดือน 19,304.76 บาท (SD = 6.70) และระยะเวลาในการออกปฏิบัติราชการที่นราธิวาสตั้งแต่วันที่มาจนถึงวันที่เก็บข้อมูลมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 1 ปี (IQR = 1 ปี) ระดับความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 67.34 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดแต่ไม่สามารถทํานายระดับความเครียด ได้แก่ ชั้นยศ (นายทหารชั้นประทวนหรือสัญญาบัตร) (r=-.11, p < .05) สถานภาพสมรส (สมรส หม้าย หย่า) ( r = -.18, p < .05) ระดับการศึกษา (ปริญญาตรีหรือสูงกว่า)( r = -.12, p < .05) รายได้ (r = -.10, p < .05) การเผขิญปัญหาด้วยการจัดการกับปัญหา (r = .21, p < .05) สัมพันธภาพในครอบครัว (r = -.27, p < .05) และเหตุการณ์กดดันในชีวิต (r = .23, p < .01) ปัจจัยทำนายความเครียดของกลุ่มตัวอย่าง คือ พฤติกรรมการเผชิญความเครยดแบบการจัดการกับอารมณ์ (B = 1.64, p < .01) ความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อมในการทำงาน (B = -0.09, p < .01) และอายุ (B = -0.04, p = .01) โดยปัจจัยเหล่านี้อธิบายความเครียดได้ร้อยละ 79.60 (R2 = .796, p < .01) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรด้านสุขภาพที่มีหน้าที่ดูแลทหารปฏิบัติราชการในพื้นที่เสี่ยง ควรประเมินความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของทหาร ส่งเสริมให้ทหารมีวิธีการเผชิญความเครียดที่เหมาะสม และควรแนะนำให้ทหารปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้สะดวกสบายและรู้สึกปลอดภัย
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความเครียดในการทำงาน
dc.subjectความเครียด (จิตวิทยา)
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลปฎิบัติชุมชน
dc.subjectทหารเรือ -- ความเครียดในการทำงาน
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของทหารเรือในจังหวัดนราธิวาส
dc.title.alternativeInfluencing fctors of stress mong nvies in Nrthiwt Province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeSituation of unrest in three southern border provinces for more than 10 years causes violence and loss to people and practitioners maintaining peace of the country. Navies areparts of practitioners who have their lives risky to dangerous in this area.Purpose of this study was to examine factors affecting stress among navies working in Narathiwat province. Participants were 300 marines of Chulaborn camp, special operation unit in southern part of the country. Data has been collected during April to May,2017. Participants were selected by multistage random sampling. Research instruments were self-report questionnaires including personal information, stress assessment, pressure on life in the past one year, family relationship, coping behavior, and working environment. Data were analyzed by descriptive statistics and stepwise multiple regression. The results of the study revealed that: the average sample age was 29.25 years old (SD = 10.37). The average rank was non-commissioned, 63.70% were married, and 85.30% had a bachelor's degree, 90.00%. Average monthly income was 19,304.76 baht. (SD = 6.70), and the duration of service at Narathiwat province from the date until the data collection date is a median of 1 year (IQR = 1 year). Factors related to stress but not predicted stress levels were rank (ranks-commissioned or commissioned) (r= - .11, p< .01). Findings suggest that health care personnel responsible to care for military working in dangerous areas would assess soldiers’ stress and coping behavior. Then would encourage them to use effective coping behavior. Moreover, would advise them to improve their working environment to be comfortable contributable to their safety feeling in a workplace.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลปฎิบัติชุมชน
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น