กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6531
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถในตนเองด้านโภชนาการต่อพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการและน้ำหนักเพิ่มของหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรกที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานก่อนตั้งครรภ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of perceived self-efficcy in nutrition enhncement progrm on nutrition helth behvior nd weight gin mong primiprous pregnnt women with pre-pregnnt overweight |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศิริวรรณ แสงอินทร์ วรรณทนา ศุภสีมานนท์ รักรุ้ง โกจันทึก มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง ครรภ์ -- โภชนาการ ครรภ์ -- การดูแลและสุขวิทยา ครรภ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานก่อนตั้งครรภ์เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพของมารดาและทารก ทั้งในระยะตั้งครรภ์ระยะคลอด และหลังคลอด การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถในตนเองด้านโภชนาการต่อพฤติกรรมสุขภาพ ด้านโภชนาการและน้ำหนักเพิ่มของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน ก่อนตั้งครรภ์กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ครั้งแรกที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานก่อนตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบสะดวก จำนวน 60 ราย โดยจัดให้ 30 รายแรกเป็นกลุ่มควบคุม และ 30 รายหลังเป็นกลุ่มทดลอง ดำเนินการเก็บข้อมูลครั้งแรกกับกลุ่มควบคุมทั้งหมดก่อนดำเนินการวิจัยกับกลุ่มทดลองกลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมการพยาบาลตามปกติกลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมการพยาบาลตามปกติและโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ ความสามารถในตนเองด้านโภชนาการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ร้อยละ พิสัยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Fisher’s exact test, Chi-square test, Mann-Whitney U test และ t-test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความแตกต่างของคะแนนพฤติกรรมสุขภาพ ด้านโภชนาการก่อนและหลังทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t58= 9.22, p< .001) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t29=11.67, p < .001) และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักเพิ่มรายสัปดาห์แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t58 = -8.12, p < .001) จากผลการวิจัยเสนอแนะว่า พยาบาลแผนกฝากครรภ์ควรประยุกต์โปรแกรม ฯ ไปใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานก่อนตั้งครรภ์ อันจะช่วยให้หญิงตั้งครรภ์กลุ่มนี้ดูแลตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านโภชนาการได้อย่างเหมาะสม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6531 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.75 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น