กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6514
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of life skill enhncement progrm on perceived self-efficcy nd outcome expectncy to void sexul risk behvior mong femle erly secondry school students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรนภา หอมสินธุ์
นิสากร กรุงไกรเพชร
จิราวรรณ พักน้อย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: นักเรียน -- พฤติกรรมทางเพศ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
เพศสัมพันธ์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: วัยรุ่นหญิงตอนต้นขาดทักษะชีวิตที่สําคัญในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก้อนและหลังการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีสุ่มอย่างง่ายเป็นนักเรียนหญิง ที่ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคการศึกษา 1 ปีการศึกษา 2559 ในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 จํานวน 54 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 27 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตที่เน่นการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ประกอบด้วยกิจกรรม 5 ครั้ง ระยะเวลา 5 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการเรียนการสอนตามปกติที่ทางโรงเรียนจัดให้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.73 และ 0.86 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบที ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ฯ สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t= 3.65, p< .001 และ t= 3.40, p< .05 ตามลําดับ) และกลุ่มทดลองมีคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและคะแนนความคาดหวังในผลลัพธ์ของการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในระยะหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t= 5.45, p< .05, และ t= 5.41, p< .05 ตามลําดับ) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลชุมชนสามารถนําโปรแกรมนี้ไปใช้ได้เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในสมรรถนะของวัยรุ่นหญิงตอนต้นบนพื้นฐานการมีทักษะชีวิตที่ดีและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6514
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น