Abstract:
วัยรุ่นหญิงตอนต้นขาดทักษะชีวิตที่สําคัญในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก้อนและหลังการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีสุ่มอย่างง่ายเป็นนักเรียนหญิง ที่ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคการศึกษา 1 ปีการศึกษา 2559 ในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 จํานวน 54 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 27 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตที่เน่นการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ประกอบด้วยกิจกรรม 5 ครั้ง ระยะเวลา 5 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการเรียนการสอนตามปกติที่ทางโรงเรียนจัดให้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.73 และ 0.86 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบที ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ฯ สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t= 3.65, p< .001 และ t= 3.40, p< .05 ตามลําดับ) และกลุ่มทดลองมีคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและคะแนนความคาดหวังในผลลัพธ์ของการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในระยะหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t= 5.45, p< .05, และ t= 5.41, p< .05 ตามลําดับ) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลชุมชนสามารถนําโปรแกรมนี้ไปใช้ได้เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในสมรรถนะของวัยรุ่นหญิงตอนต้นบนพื้นฐานการมีทักษะชีวิตที่ดีและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศได้