DSpace Repository

ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรนภา หอมสินธุ์
dc.contributor.advisor นิสากร กรุงไกรเพชร
dc.contributor.author จิราวรรณ พักน้อย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:01:40Z
dc.date.available 2023-05-12T03:01:40Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6514
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract วัยรุ่นหญิงตอนต้นขาดทักษะชีวิตที่สําคัญในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก้อนและหลังการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีสุ่มอย่างง่ายเป็นนักเรียนหญิง ที่ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคการศึกษา 1 ปีการศึกษา 2559 ในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 จํานวน 54 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 27 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตที่เน่นการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ประกอบด้วยกิจกรรม 5 ครั้ง ระยะเวลา 5 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการเรียนการสอนตามปกติที่ทางโรงเรียนจัดให้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.73 และ 0.86 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบที ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ฯ สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t= 3.65, p< .001 และ t= 3.40, p< .05 ตามลําดับ) และกลุ่มทดลองมีคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและคะแนนความคาดหวังในผลลัพธ์ของการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในระยะหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t= 5.45, p< .05, และ t= 5.41, p< .05 ตามลําดับ) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลชุมชนสามารถนําโปรแกรมนี้ไปใช้ได้เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในสมรรถนะของวัยรุ่นหญิงตอนต้นบนพื้นฐานการมีทักษะชีวิตที่ดีและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศได้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject นักเรียน -- พฤติกรรมทางเพศ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.subject เพศสัมพันธ์
dc.title ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
dc.title.alternative Effects of life skill enhncement progrm on perceived self-efficcy nd outcome expectncy to void sexul risk behvior mong femle erly secondry school students
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Female adolescents are at the age of tending tolack of an importantlife skill to avoid the sexual risk behavior. This quasi-experimental research with two-group, pretest-posttest design aimed to examine effects of life skill enhancement program on perceived self-efficacy and outcome expectancy to avoid sexual risk behavior among early secondary school female students. A simple random sampling was used to recruit a sampleof 54 females studying in MatthayomSuksa II of 1 semester, academic year of 2016 at the Opportunity Expansion Schoolsunder the office of Sa Kaeo Primary Education Service Area Office#2. There were 2 groups of the experimental and the control with 27 students for each group. Participants in the experiment group received the life skill enhancement program emphasizing on self-efficacy. It consisted of 5 activities for a period of 5 weeks. The control group received usual learning activities from the school. Data were collected by using the perceived self-efficacy and outcome expectancy to avoid sexual risk behavior questionnaire. Its internal consistency reliability was 0.73, 0.89 Data analysis included descriptive statistics and t-test. The results found that after receiving the program, participants in the experiment group hadthe scores ofperceived self-efficacy and outcome expectancy to avoid sexual risk behavior significantly higher than those in the control group (t= 3.65, p< .05, t= 3.40, p< .05). Within the experimental group, the scores of perceived self-efficacy and outcome expectancy to avoid sexual risk behavior after receiving the program was significantly higher than those scores before receiving the program (t =5.45, p< .05, t= 5.41, p< .05) These findings indicate that nurses and child and adolescent health care providers could apply this program to use effectively. Especially for a group of female early adolescents, the program would strengthen their self-efficacybase on good life skills. In addition, sexual risk behavior would be avoided.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account