กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6488
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยทางสรีรวิทยาในการทำนายความแม่นยำในการยิงปืนขั้นพื้นฐานของนักเรียนโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน จังหวัดนครปฐม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Physiological factors for predicting the basic of shooting accuracy in students of the royal police cadet academy, Nakhon Pathom province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง กวีญา สินธารา ปานรดา พชรสิทธางกูร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
คำสำคัญ: | การทำนาย ความแม่นยำ การยิงปืน มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของศึกษาปัจจัยทางสรีรวิทยา ได้แก่ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความอดทนของกล้ามเนื้อแขน ความอดทนของกล้ามเนื้อขา การทรงตัว เวลาปฏิกิริยาและความอดทนของระบบไหลเวียน และหายใจที่มีต่อความแม่นยําในการยิงปืน และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทางสรีรวิทยาที่กล่าวมา ข้างต้นในการทํานายความแม่นยําในการยิงปืน ทําการศึกษาในกลุ่มนักเรียนนายร้อยตํารวจ ชั้นปีที่ 1 จากโรงเรียนนายร้อยตํารวจสามพราน จังหวัดนครปฐม จํานวน 147 คน ผู้เข้าร่วมวิจัย ถูกทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ซึ่งใช้เครื่องวัดแรงบีบมือ ทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาซึ่งใช้เครื่องวัดแรงเหยียดขา ทดสอบความอดทนของกล้ามเนื้อแขนจากการคํานวณ ค่าดัชนีความเมื่อยล้าจากค่าแรงบีบมือ 5 ครั้ง ทดสอบความอดทนของกล้ามเนื้อขาซึ่งทดสอบ ลุกนั่งในเวลา 1 นาที ทดสอบการทรงตัวด้วยกระดานทรงตัว ทดสอบเวลาปฏิกิริยาตอบสนองด้วย เครื่องวัดเวลาปฏิกิริยาตอบสนอง ทดสอบความอดทนของระบบไหลเวียนและการหายใจโดยใช้การคํานวณจากอัตราการเต้นของหัวใจภายหลังการทดสอบด้วยแบบทดสอบ Queen’s college step test และทดสอบความแม่นยําในการยิงปืน โดยใช้คะแนนรวมจากการยิงปืน 5 นัดระยะ 10 หลา จากนั้นนําผลการทดสอบมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s product correlation coefficient) และใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสรีรวิทยา ได้แก่ การทรงตัวมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับความแม่นยําในการยิงปืน (r = .178) และเวลาปฏิกิริยามีความสัมพันธ์ในทิศทางลบกับความแม่นยําในการยิงปืน (r = -.199) ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยทางสรีรวิทยา ได้แก่ การทรงตัวและเวลาปฏิกิริยาสามารถทํานายความแม่นยําในการยิงปืนได้ร้อยละ 7(R2 = .070) ในนักเรียนนายร้อยตํารวจสามพราน จังหวัดนครปฐม |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6488 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.5 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น