กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6460
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานตามโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ ของผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The opertion issues nd brrier of uthorised economic opertion of thilnd importer nd exporter
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณภัคอร ปุณยภาภัสสรา
พัชรี บุตรตุ้ม
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: มาตรฐานสินค้า
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก
ผู้ประกอบการ -- ไทย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานตามโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอของผู้นำเข้าผู้ส่งออกในประเทศไทย เครื่องมือในการวิจัยเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมายคือผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ จำนวน 17 ราย ที่มีการดำเนินงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หลังจากนั้นนำข้อมูลการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ นำเสนอเป็นรูปภาพ ตาราง พร้อมคำอธธิบาย โดยอ้างอิงงานวิจัยแนวคิด ทฤษฏีการจัดการองค์การสมัยใหม่ และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เป็นต้น ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นผู้นำเข้าส่งออกระดับบัตรทองที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายเดิมที่จะสิ้นสุดลง เนื่องจากกรมศุลกากรได้ลงนามในข้อตกลงรับกรอบความปลอดภัยด้านการค้าระหว่างประเทศกับองค์การศุลกากรโลกและนำมาเป็นแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการก่อการร้ายจากการทำการค้าระหว่างประเทศ กรมศุลกากรจึงแก้ไขข้อกฎหมายใหม่และเปลี่ยนชื่อโครงการมาเป็นโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ ซึ่งข้อกำหนดด้านความปลอดภัยทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับปรุงสถานประกอบการให้เป็นไปตามข้อระเบียบ ทำให้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เมื่อดำเนินงานตามโครงการแล้วพบว่า สินค้ายังไม่ถูกยอมรับด้านความปลอดภัย จากศุลกากร ณ ประเทศปลายทางจึงไม่สามารถช่วยลดระยะเวลาการนำเข้าสินค้าที่ปายทางได้ เนื่องด้วยความแตกต่างของกฎหมายศุลกากรและยังไม่มีการทำความตกลงร่วมกันของศุลกากรไทยกับศุลกากรประเทศคู่ค้าที่สำคัญกอปรกับผู้ประกอบการอื่นที่อยู่ในระบบซัพพลายเชนก็ยังไม่เข้าร่วมโครงการจึงทำให้การปฏิบัติยังไม่สอดคล้องกับกรอบนโยบาย นอกจากนั้นยังพบว่า สิทธิพิเศษตามประกาศจากโครงการนั้นผู้ประกอบการได้รับประโยชน์เพียงบางข้อปัญหาสำคัญด้านการคนอากรตามาตรา 19 ทวิยังมีความล่าช้ากว่าระยะที่กำหนด ซึ่งเป็นเหตุแห่งความสูญเสียโอกาสในการใช้ทุนหมุนเวียนในกิจการ การพิจารณาที่อาศัยดุลพินิจเจ้าหน้าที่ยังมีความล่าช้าและปัญหาด้านเทคโนโลยีไม่มีสนับสนุนโดยการอ้างอิงยังยึดที่ตัวเอกสารเป็นหลัก และไม่มีระบบเชื่อมโยงกับหน่วยงานออกใบอนุญาตการนำเข้าส่งออกและขาดการเชื่อมโยงระบบกับศุลกากรประเทศคู่ค้า จากผลการวิจัยข้างต้นศุลกากรควรนำผลข้างต้นไปเป็นแนวทางในการพิจารณาปรับปรุงด้านสิทธิพิเศษที่ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์จริงและปรับปรุงวิธีปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพและรวดเร็วและผลักดันผู้ประกอบการอื่นในระบบซัพพลายเชนเข้าร่วมโครงการโดยเร็วรวมถึงการเร่งทำความตกลงกับศุลกากรต่างประเทศการพัฒนาระบบเทคโนโลยัให้มีความเชื่อมโยงกับหน่วยงานทั้งในและตัวอย่างประเทศเพื่อเพิ่มความ รวดเร็วด้านการค้าและลดความสูญเสียโอกาสอันเนื่องมาจากความล่าช้าและเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการในอนาคต
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6460
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น