กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6460
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorณภัคอร ปุณยภาภัสสรา
dc.contributor.authorพัชรี บุตรตุ้ม
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T02:51:21Z
dc.date.available2023-05-12T02:51:21Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6460
dc.descriptionงานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานตามโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอของผู้นำเข้าผู้ส่งออกในประเทศไทย เครื่องมือในการวิจัยเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมายคือผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ จำนวน 17 ราย ที่มีการดำเนินงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หลังจากนั้นนำข้อมูลการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ นำเสนอเป็นรูปภาพ ตาราง พร้อมคำอธธิบาย โดยอ้างอิงงานวิจัยแนวคิด ทฤษฏีการจัดการองค์การสมัยใหม่ และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เป็นต้น ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นผู้นำเข้าส่งออกระดับบัตรทองที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายเดิมที่จะสิ้นสุดลง เนื่องจากกรมศุลกากรได้ลงนามในข้อตกลงรับกรอบความปลอดภัยด้านการค้าระหว่างประเทศกับองค์การศุลกากรโลกและนำมาเป็นแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการก่อการร้ายจากการทำการค้าระหว่างประเทศ กรมศุลกากรจึงแก้ไขข้อกฎหมายใหม่และเปลี่ยนชื่อโครงการมาเป็นโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ ซึ่งข้อกำหนดด้านความปลอดภัยทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับปรุงสถานประกอบการให้เป็นไปตามข้อระเบียบ ทำให้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เมื่อดำเนินงานตามโครงการแล้วพบว่า สินค้ายังไม่ถูกยอมรับด้านความปลอดภัย จากศุลกากร ณ ประเทศปลายทางจึงไม่สามารถช่วยลดระยะเวลาการนำเข้าสินค้าที่ปายทางได้ เนื่องด้วยความแตกต่างของกฎหมายศุลกากรและยังไม่มีการทำความตกลงร่วมกันของศุลกากรไทยกับศุลกากรประเทศคู่ค้าที่สำคัญกอปรกับผู้ประกอบการอื่นที่อยู่ในระบบซัพพลายเชนก็ยังไม่เข้าร่วมโครงการจึงทำให้การปฏิบัติยังไม่สอดคล้องกับกรอบนโยบาย นอกจากนั้นยังพบว่า สิทธิพิเศษตามประกาศจากโครงการนั้นผู้ประกอบการได้รับประโยชน์เพียงบางข้อปัญหาสำคัญด้านการคนอากรตามาตรา 19 ทวิยังมีความล่าช้ากว่าระยะที่กำหนด ซึ่งเป็นเหตุแห่งความสูญเสียโอกาสในการใช้ทุนหมุนเวียนในกิจการ การพิจารณาที่อาศัยดุลพินิจเจ้าหน้าที่ยังมีความล่าช้าและปัญหาด้านเทคโนโลยีไม่มีสนับสนุนโดยการอ้างอิงยังยึดที่ตัวเอกสารเป็นหลัก และไม่มีระบบเชื่อมโยงกับหน่วยงานออกใบอนุญาตการนำเข้าส่งออกและขาดการเชื่อมโยงระบบกับศุลกากรประเทศคู่ค้า จากผลการวิจัยข้างต้นศุลกากรควรนำผลข้างต้นไปเป็นแนวทางในการพิจารณาปรับปรุงด้านสิทธิพิเศษที่ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์จริงและปรับปรุงวิธีปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพและรวดเร็วและผลักดันผู้ประกอบการอื่นในระบบซัพพลายเชนเข้าร่วมโครงการโดยเร็วรวมถึงการเร่งทำความตกลงกับศุลกากรต่างประเทศการพัฒนาระบบเทคโนโลยัให้มีความเชื่อมโยงกับหน่วยงานทั้งในและตัวอย่างประเทศเพื่อเพิ่มความ รวดเร็วด้านการค้าและลดความสูญเสียโอกาสอันเนื่องมาจากความล่าช้าและเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการในอนาคต
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมาตรฐานสินค้า
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก
dc.subjectผู้ประกอบการ -- ไทย
dc.titleปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานตามโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ ของผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ในประเทศไทย
dc.title.alternativeThe opertion issues nd brrier of uthorised economic opertion of thilnd importer nd exporter
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to explore any operation issue of authorized economic operation of Thailand importer and exporter. The data collection was in-depth interview. The population of this research was 17 of two-year experienced AEO importers and exporters. The data were analyzed and synthesized in a form of pictures, diagrams, and tables including illustration based upon literature reviews, modern theories of organizational management and supply chain management, etc. The research concluded that most importers and exporters prior to acquiring a gold card level had to re-adjust the location and improve standard in a response to the new order from Custom Regulations. According to the agreement made between Customs of Thailand and World Customs, the new project came with the name “Authorized Economic Operation (AEO)” – which aims to activate high security in trading among nations. However, this has affected the importers and exporters in terms of cost and funding. The packages expected to send in mostly are not received because some countries, or supply chain are still non-members. Furthermore, privileges expected to provide for members are limited and by Tax revenue in 19Bis, the delay in the delivery caused a huge loss in cost and profit. Other issues include the delay in staff operation, unavailability of electronics form, and lack connection with the import and export license department. The aforementioned results of the research should be put into consideration in order to find some practical solutions in operational improvement, give more benefits, fast and efficient service, encourage other supply chain to join, join hands with foreign customs, and come up with new development on technology for nations and global in an answer to faster operation, reduce opportunity loss occurred by the delay, and exceed the mission and objectives of the project in the near future.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการจัดการธุรกิจโลก
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น