กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6426
ชื่อเรื่อง: แนวทางปรับปรุงการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (AM) เพื่อปรับปรุงการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) : กรณีศึกษา บริษัทผลิตโพลียูรีเทนโฟมแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Improvement pproch of utonomous mintennce (m) to improve totl productive mintennce (tpm) cse study polyurethne fom compry in chonburi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชำนาญ งามมณีอุดม
ทักษญา สง่าโยธิน
เผด็จไชย แพงเกาะ
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร
การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร
การบำรุงรักษาเชิงทวีผลโดยรวม
การบำรุงรักษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางปรับปรุงการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (AM) เพื่อปรับปรุงการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) ในบริษัทผลิต โพลียรูีเทน แห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสมภาษณ์ เชิงลึกส่วนของปัญหาในการทำระบบ TPM เสา AM และระบบฐานข้อมูลที่ใช้ในการทำการปรับปรุงงานบำรุงรักษา ด้วยตนเองตามกระบวนการ PDCA และข้อเสนอแนะการปรับปรุงกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นพนักงานบริษัททำการศึกษาวิจัย จำนวน 20 คน เครื่องจักรใช้ปฏิบัติการวิจัย 13 เครื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการปฏิบัติงานจากระบบฐานข้อมูลที่ปรับปรุงการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรม SPSS for windows ในการวิเคราะห์ค่าสถิติไดใช้ สถิติ Paired-sample t-test ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาหลักที่ได้จากการวิเคราะห์สำหรับการทำงานบำรุงรักษาด้วยตนเองของระบบการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม ปัญหาอันดับแรกไม่มีระบบในการติดตามว่างานการบำรุงรักษามีการทำจริงหรือไม่อย่างไร ไม่มีระบบการบันทึกข้อมูลงานบำรุงรักษาที่เป็นระบบระเบียบเป็นมาตราฐานเดียวกัน ไม่มีการตรวจสอบจากหัวหน้างานและส่วนสนับสนุนปัญหาลำดับต่อมามา การมีส่วนร่วมของพนักงานความร่วมมือจากพนักงานและความเอาใจใส่ของหัวหน้างานการปรับปรุงโดยใช้ระบบฐานข้อมูลในการทำงานบำรุงรักษาด้วยตนเอง พบว่า จากการใช้ระบบฐานข้อมูลมีจำนวนงานการบำรุงรักษาทำสำเร็จหลังปรับปรุงดีกว่าก่อนปรับปรุงที่ระดับนัยสำคัญ .05 ค่า t -3.311* และค่า Sig (2-tailed) .031 จำนวนงานทำเสร็จตามกำหนดหลังปรับปรุงดีกว่าก่อนปรับปรุงที่ระดับนัยสำคัญ .05 ค่า t -2.508* และค่า Sig (2-tailed) = .040 ระบบฐานข้อมูลสามารถดึงพนักงานและหัวหน้าางานให้มีส่วนร่วมในงานบำรุงรักษาด้วยตนเองได้เพิ่มขึ้น
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6426
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น