กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6416
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการศึกษาลักษณะแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนบริเวณพื้นที่ชายหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A guideline to study chrcteristics of eco-tourism to develop to sustinble tourism in Bngsen Bech Are, Sensuk sub-district, Mueng district, Chon Buri province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภัทรี ฟรีสตัด ยิ่งยศ โชคชัยวรรัตน์ พรพรรณ ชิดเชื้อ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) การท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บางแสน (ชลบุรี) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่เอื้อประโยชน์แนวการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนของชาดหาดบางแสน 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บริเวณพื้นที่ชาดหาดบางแสน 3) เพื่อศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) ชายหาดบางแสน 4) เพื่อนํามาเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บริเวณพื้นที่ชายหาดบางแสน วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก มุ่งศึกษา กลุ่มเป้าหมายในงานวิจัย คือ หน่วยงานภาครัฐ 4 คน ภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการ 4 คน นักท่องเที่ยว 4 คน และบุคคลในชุมชน 4 คน ผลการวิจัย ชายหาดบางแสน จุดแข็ง คือ ผู้บริหารมีวิทัศน์สนับสนุน, ประเพณีที่มีเอกลักษณ์, ทําเลที่ตั้งมีความเหมาะสม, มีเส้นทางคมนาคมสะดวกจุดอ่อน คือ ทรัพยากรธรรมชาติ เสื่อมโทรม, การประชาสัมพันธ์ด้านการสร้างจิตสํานึกยังไม่เพียงพอ, รายได้ยังไม่สามารถกระจายได้ อย่างทั่วถึง, ขาดบุคลากรเฉพาะด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและวิทยาศาตร์-ชีววิทยาโอกาส คือ ความนิยมด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ, โอกาสในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น อุปสรรค คือ ปัญหาขยะพัดเข้าฝั่ง , ไม่มีอํานาจด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม, ปัญหาเศรษฐกิจถดถอย ปัญหาต้นทุนสินค้าและค่าครองชีพสูง, นโยบายของภาครัฐบาลขาดความต่อเนื่องและนํามาเสนอ แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บริเวณพื้นที่ชายหาดบางแสน คือ กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy) ได้แก่ จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, กิจกรรมสืบสานประเพณี วัฒนธรรม และสินค้าท้องถิ่น, ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ, จัดเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อศึกษาธรรมชาติและวัฒนธรรมกลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy) ปรับปรุงทรัพยากรที่เสื่อมโทรม, จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวยั่งยืน, จัดกิจกรรมเชิงอนุรักษ์ที่ชุมชนมีส่วนร่วมในผลประโยชน์, ศูนย์พัฒนาและจําหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชน, จัดหาบุคลากรด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมกลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST Strategy) คือ วิจัยแนวทางป้องกันปัญหาขยะพัดเข้าฝั่ง, หาแนวทางความร่วมมือกับผู้มีอํานาจด้านกฎหมาย, กิจกรรมการท่องเที่ยวยั่งยืนที่นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งอวดล้อมกลยุทธ์เชิงรับ (WT Strategy) คือ แนวทางความร่วมมือกับพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง, รณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาขยะ, มหกรรมแสดงศิลปะพื้นบ้านและสินค้าท้องถิ่น |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6416 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 4.79 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น