Abstract:
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่เอื้อประโยชน์แนวการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนของชาดหาดบางแสน 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บริเวณพื้นที่ชาดหาดบางแสน 3) เพื่อศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) ชายหาดบางแสน 4) เพื่อนํามาเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บริเวณพื้นที่ชายหาดบางแสน วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก มุ่งศึกษา กลุ่มเป้าหมายในงานวิจัย คือ หน่วยงานภาครัฐ 4 คน ภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการ 4 คน นักท่องเที่ยว 4 คน และบุคคลในชุมชน 4 คน ผลการวิจัย ชายหาดบางแสน จุดแข็ง คือ ผู้บริหารมีวิทัศน์สนับสนุน, ประเพณีที่มีเอกลักษณ์, ทําเลที่ตั้งมีความเหมาะสม, มีเส้นทางคมนาคมสะดวกจุดอ่อน คือ ทรัพยากรธรรมชาติ เสื่อมโทรม, การประชาสัมพันธ์ด้านการสร้างจิตสํานึกยังไม่เพียงพอ, รายได้ยังไม่สามารถกระจายได้ อย่างทั่วถึง, ขาดบุคลากรเฉพาะด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและวิทยาศาตร์-ชีววิทยาโอกาส คือ ความนิยมด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ, โอกาสในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น อุปสรรค คือ ปัญหาขยะพัดเข้าฝั่ง , ไม่มีอํานาจด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม, ปัญหาเศรษฐกิจถดถอย ปัญหาต้นทุนสินค้าและค่าครองชีพสูง, นโยบายของภาครัฐบาลขาดความต่อเนื่องและนํามาเสนอ แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บริเวณพื้นที่ชายหาดบางแสน คือ กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy) ได้แก่ จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, กิจกรรมสืบสานประเพณี วัฒนธรรม และสินค้าท้องถิ่น, ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ, จัดเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อศึกษาธรรมชาติและวัฒนธรรมกลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy) ปรับปรุงทรัพยากรที่เสื่อมโทรม, จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวยั่งยืน, จัดกิจกรรมเชิงอนุรักษ์ที่ชุมชนมีส่วนร่วมในผลประโยชน์, ศูนย์พัฒนาและจําหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชน, จัดหาบุคลากรด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมกลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST Strategy) คือ วิจัยแนวทางป้องกันปัญหาขยะพัดเข้าฝั่ง, หาแนวทางความร่วมมือกับผู้มีอํานาจด้านกฎหมาย, กิจกรรมการท่องเที่ยวยั่งยืนที่นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งอวดล้อมกลยุทธ์เชิงรับ (WT Strategy) คือ แนวทางความร่วมมือกับพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง, รณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาขยะ, มหกรรมแสดงศิลปะพื้นบ้านและสินค้าท้องถิ่น