กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6405
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ลือชัย วงษ์ทอง | |
dc.contributor.author | บงกชกร กูลพฤกษี | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T02:47:40Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T02:47:40Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6405 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ 2) ศึกษาปัจจัยด้านความไว้วางใจที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ และเพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาธุรกิจสินค้าออนไลน์ โดยการวิจัยแบบเชิงสํารวจ (Survey research) โดยมีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method) คือเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัย โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นได้แก่ ผู้บริโภคที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในประเทศไทยที่มีความสําคัญและเกี่ยวข้องกับการใช้บริการซื้อสินค้าออนไลน์ จํานวน 400 คน และสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค จํานวน 10 ราย จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ทั้งหมด 400 คน ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของพฤติกรรมผู้บริโภคกับการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค โดยวิธีสถิติ Independent t-test, One-way ANOVA พบว่า ความแตกต่างกันของความถี่ในการใช้บริการซื้อสินค้าออนไลน์ มีผลทําให้การเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค แตกต่างกัน ในขณะที่ความแตกต่างกันของช่องทางในการซื้อจํานวนเงินที่ใช้ในแต่ละครั้ง ช่วงเวลาที่ใช้และสถานที่ที่ใช้อินเตอร์เน็ตบ่อยที่สุด มีผลทําให้การเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค ไม่แตกต่างกัน ผลการวิเเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านความไว้วางใจกับการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค โดยวิธีสถิติ Multiple linear regression พบว่า ปัจจัยด้านความไว้วางใจ มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค โดยวิธีสถิติ Multiple linear regression พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในส่วนของปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านสถานที่ และปัจจัยด้านบุคลากร มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้า ออนไลน์ของผู้บริโภคในขณะที่ปัจจัยด้านส่งเสริมการขาย ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการให้บริการ ไม่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในส่วนของการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค จํานวน 10 ราย จากการสัมภาษณ์พบว่า ผู้บริโภคให้ความสําคัญกับการประหยัดเวลาในการเดินทางไปซื้อสินค้า สามารถซื้อสินค้าทางออนไลน์ได้ตลอดเวลา โดยสามารถเปรียบเทียบราคาได้ ช่วยให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกกว่าการซื้อจากร้านทั่วไป ในมุมมองของผู้ประกอบการณ์ จะให้ความสําคัญกับการลดต้นทุนด้านการขนส่งสินค้า ให้กับลูกค้า และการให้บริการหลังการขายทําได้รวดเร็วขึ้น โดยลูกค้า สามารถติดต่อกับผู้ขายได้โดยตรง เพื่อขอรับการบริการหลังการขาย สอบถามข้อมูล และการแกปัญหาหลังจากซื้อสินค้าไปแล้ว ด้านการพัฒนาธุรกิจ ออนไลน์ ทั้งผู้ขายและลูกค้า มีความเห็นตรงกันกล่าวคือ มุ่งเน้นเรื่องการขนส่งสินค้าที่รวดเร็ว สินค้าไม่ เสียหาย และเน้นให้มีการบริการหลังการขายที่เป็นธรรม ผู้ขายมีความรับผิดชอบหากสินค้ามีข้อบกพร่อง รวมถึงราคาขายที่เป็นธรรมจะช่วยให้ผู้บริโภคมีการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นได้ รวมทั้งมีการเอาใจใส่ดูแลจากองค์กรภาครัฐ เพื่อให้ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อสินค้า มีความมั่นใจในการซื้อ-ขาย สินค้าทางออนไลน์ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | สินค้า -- การจัดซื้อ | |
dc.subject | สินค้า | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร | |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ | |
dc.title.alternative | Fctor tht influence socil network user mke decision for purchsing online product | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This research attempts 1) to study consumers' behavior affecting online product selection of consumers using online social network, 2) to study reliability contributing to online purchasing of consumers though online social network; 3) to study marketing mix factors influencing online product selection of consumers using online social network; and 4) to study patterns to develop online business. This survey research applied mixed method, that is quantitative and qualitative research study by using questionnaires and interviews as research instruments. The subjects included 400 consumers using online social network in Thailand who were important and related to online purchasing for the questionnaires as well as other 10 entrepreneurs and consumers for the interviews. The data of general information of 400 respondents to the questionnaires were analyzed to investigate the difference between consumer behavior and online purchasing of consumers using Independent t-test, and One-way ANOVA. It was found that the different in frequency of online purchasing had an influence on online purchasing of consumers at the different level whereas difference in place to purchase, amount of money to buy each time, time to purchase, and place to use the internet had an influence on online purchasing of consumers with no difference. The results from analyzing the relationship between reliability and online purchasing of the consumers with Multiple linear regression analysis reveal that reliability had an impact on online purchasing of the consumers. The study on the relationship between marketing mix factors and online purchasing of consumers via Multiple linear regression shows that product, price, place, and people from marketing mix factors indicate that these factors had an influence on consumers' online purchasing whilst promotion, process, and physical environment did not have an impact on consumers' online purchasing. The findings from in-depth interviews with 10 entrepreneurs and consumers reveal that consumers paid attention on time saving when travelling to purchase product. In fact, they can purchase online product at all time. In fact, they could compare prices for the lower one or less expensive than general shops. From perspective of entrepreneurs, they emphasized on cost reduction in transportation to customers and faster after sale service delivery. Infact, consumers can contact directly with their sellers when they need after sale service. They can enquire for information and solve problems after purchasing. To develop online business, both seller and buyer all agreed that they should focus on fast delivery without damage, they should emphasize on fair after sale service. In addition, sellers are responsible for defected product and to provide fair price to boost consumers' decision to buy more, as well as a good care from state organization with an attempt for seller and buyer had a confident to purchase online. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | บริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร | |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 5.52 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น