กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6400
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกไม้การบูรของโรงเรียนบ้านป้องกันตนเองด่านชุมพล ตำบลด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The pproches to developing of cmphor flower product for bn pong gn ton eng dn chumphon school, dnchompon sub-district, bori district, trt province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อำนาจ สาลีนุกุล ทักษญา สง่าโยธิน กนกวรรณ รุ่งรวีพิริยะกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ดอกไม้ -- กลิ่น มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร ผลิตภัณฑ์ดอกไม้ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาตำแหน่งผลิตภัณฑ์ดอกไม้การบูรของโรงเรียนบ้านป้องกัน ตนเองด่านชุมพล 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการสร้างความแตกต่างผลิตภัณฑ์ดอกไม้การบูรของโรงเรียนบ้านป้องกัน ตนเองด่านชุมพล 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการรับรู้แบรนด์ตาม Model 3I ผลิตภัณฑ์ดอกไม้การบูรของโรงเรียนบ้านป้องกันตนเองด่านชุมพล 4) เพื่อศึกษาห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ของผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกไม้การบูรโรงเรียนบ้านป้องกันตนเอง ด่านชุมพล 5) เพื่อทดสอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดอกไม้การบูรของโรงเรียนบ้านป้องกันตนเองด่านชุมพล โดยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงแบบผสมผสานวิธี (Mixed method) มีทั้งเชิงคุณภาพแบบสนทนากลุ่มและแบบการสัมภาษณ์ และเชิงปฏิบัติการ ผลการวิจัย พบว่า 1) การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ด้านลักษณะควรมีแบบมีสีสันหลากหลาย มีขนาดเหมาะสม ด้านราคาผู้บริโภคทุกระดับซื้อได้ราคาไม่แตกต่างกับคู่แข่ง ด้านการนำไปใช้เพื่อดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์และจากหลาย ๆ ปัจจัยรวมกันในการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ควรมีรูปแบบสวยงาม หอมสดชื่นจากกลิ่นการบูรและมีราคาเหมาะสมกับคุณภาพผลิตภัณฑ์ 2) การสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ด้านความแตกต่างผลิตภัณฑ์คงกลิ่นการบูรไว้เพิ่มรูปแบบดอกไม้ด้านความแตกต่างช่องทางการจัดจำหน่ายใช้ช่องทางออนไลน์ในการจัดจำหน่ายและด้านภาพลักษณ์แสดงถึงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยนักเรียน 3) การรับรู้แบรนด์ตาม Model 3I อัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์สื่อถึงดอกไม้ประดิษฐ์ที่ให้ความหอมสดชื่น ภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์แสดงถึงผลิตภัณฑ์โรงเรียนที่ผลิตโดยนักเรียน และคุณค่าที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์คือเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีรายได้ในส่วนของกระบวนการห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ดอกไม้การบูรโรงเรียน บ้านป้องกันตนเองด่านชุมพลในด้านกิจกรรมหลัก พบว่า ผู้ผลิตต้องการงบประมาณสนับสนุนในการผลิต มีนักเรียนเป็นแรงงานในการผลิตโดยมีครูที่มีฝีมือเป็นผู้ดูแลในการบรรจุภัณฑ์จะใช้เป็นถุงแก้วใสให้เห็นผลิตภัณฑ์มีการประชาสัมพันธ์โดยมุ่งเน้นว่าผลิตภัณฑ์ที่มาจากฝีมือนักเรียน เริ่มจำหน่ายตามร้านค้าในชุมชน งานตราดรำลึกและช่องทางออนไลน์ก่อน ในด้านกิจกรรมสนับสนุน พบว่า ผู้ผลิตมีการจัดซื้อวัตถุดิบจากร้านเครื่องเขียนในตัวเมืองตราด ได้มีการนำเทคโนโลยีด้านอินเตอร์เน็ตมาช่วยในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์มีนักเรียนภายในโรงเรียนเป็นแรงงานในการผลิต โดยมีครูเป็นผู้อบรมและสอนทำ และเพื่อให้นักเรียนมีรายได้ จะมีการแบ่งเปอร์เซ็นตจ์ากกำไรที่ได้จากการขายและผลการทดลองจำหน่าย พบว่า ผลิตภัณฑ์ดอกไม้การบูรของโรงเรียนบ้านป้องกันตนเองด่านชุมพล สามารถขายได้จริงตามร้านค้าในชุมชน ทางสื่อออนไลน์รวมไปถึง กลุ่มผู้บริโภคที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์อยู่แล้ว |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6400 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 4.38 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น