กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6387
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกทุเรียนของเกษตรกรในตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors ffecting durin plnting of frmers in ng kiri sub-district, mkhm district, chnthburi province.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลือชัย วงษ์ทอง
ประเสริฐ บัวทอง
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ
ทุเรียน -- การปลูก
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกทุเรียนของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ประการแรกเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกทุเรียนของเกษตรกรพื้นที่ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรีและประการที่สองเพื่อศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจและปัจจัยด้านกายภาพที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกทุเรียนของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรสวนทุเรียนที่ขึ้นทะเบียนการปลูกทุเรียนในตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี จำนวน 300 ครัวเรือน และสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 ครัวเรือน ผลการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุ 31-40 ปี ระดับการศึกษาประถมศึกษารายได้ต่อปีของครอบครัว 750,000-1,000,000 บาท มีจำนวนแรงงานในการปลูกทุเรียน 6-10 คน ต้นทุนในการปลูกทุเรียน 100,001-200,000 บาท สายพันธุ์ทุเรียนที่ปลูกหมอนทอง เกษตรกรรับข่าวสารจากโทรทัศน์เกษตรกรใช้เครื่องจักร (เช่น รถไถรถแบคโฮ) ลักษณะของดินเป็นดินร่วน ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสูงขนาดของแหล่งน้ำมีขนาดตั้งแต่ 1 ไร่ลงมา การคมนาคมสะดวกสบายเป็นช่วงขนาดพื้นที่ปลูกทุเรียนมีขนาด 26-50 ไร่ ประสบการณ์ในการปลูกทุเรียน 3-6 ปีการสัมภาษณ์เกษตรกรส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า ทำไมถึงตัดสินใจปลูกทุเรียน เพราะทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีความต้องการของตลาดสูง ราคาดีตลอดทั้งฤดูผลไม้เป็นผลไม้เศรษฐกิจ มีค่านิยมสูงและครอบครัวมีการทำสวนทุเรียนมาตั้งแต่บรรพบุรุษและเกษตรกรได้พบปัญหา และอุปสรรคที่เกษตรกรพบคือแรงงานหายากไม่สามารถสื่อสารได้เนื่องจากพูดคนละภาษา แรงงานไม่มีประสบการณ์ในการทำงานและอยู่ทำงานได้ไม่นาน การทำเรื่องขอบัตรทำงานของแรงงานมีความล่าช้ามากขนาดของแหล่งน้ำไม่เพียงพอต่อการดูแลรักษาต้นทุเรียน เกษตรกร ได้มีการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค์ต่างโดยการให้แรงงานที่ทำงานอยู่แล้วให้ญาติหรือคนในหมู่บ้านมาทำงานแล้วใช้ภาษามือในการสอนงานคนที่พูดภาษาไทยไม่ได้มีการเพิ่มค่าแรงให้กับคนงานที่ทำงานอยู่นานและมีประสบการณ์
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6387
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น