กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6387
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ลือชัย วงษ์ทอง | |
dc.contributor.author | ประเสริฐ บัวทอง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T02:47:37Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T02:47:37Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6387 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกทุเรียนของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ประการแรกเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกทุเรียนของเกษตรกรพื้นที่ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรีและประการที่สองเพื่อศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจและปัจจัยด้านกายภาพที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกทุเรียนของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรสวนทุเรียนที่ขึ้นทะเบียนการปลูกทุเรียนในตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี จำนวน 300 ครัวเรือน และสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 ครัวเรือน ผลการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุ 31-40 ปี ระดับการศึกษาประถมศึกษารายได้ต่อปีของครอบครัว 750,000-1,000,000 บาท มีจำนวนแรงงานในการปลูกทุเรียน 6-10 คน ต้นทุนในการปลูกทุเรียน 100,001-200,000 บาท สายพันธุ์ทุเรียนที่ปลูกหมอนทอง เกษตรกรรับข่าวสารจากโทรทัศน์เกษตรกรใช้เครื่องจักร (เช่น รถไถรถแบคโฮ) ลักษณะของดินเป็นดินร่วน ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสูงขนาดของแหล่งน้ำมีขนาดตั้งแต่ 1 ไร่ลงมา การคมนาคมสะดวกสบายเป็นช่วงขนาดพื้นที่ปลูกทุเรียนมีขนาด 26-50 ไร่ ประสบการณ์ในการปลูกทุเรียน 3-6 ปีการสัมภาษณ์เกษตรกรส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า ทำไมถึงตัดสินใจปลูกทุเรียน เพราะทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีความต้องการของตลาดสูง ราคาดีตลอดทั้งฤดูผลไม้เป็นผลไม้เศรษฐกิจ มีค่านิยมสูงและครอบครัวมีการทำสวนทุเรียนมาตั้งแต่บรรพบุรุษและเกษตรกรได้พบปัญหา และอุปสรรคที่เกษตรกรพบคือแรงงานหายากไม่สามารถสื่อสารได้เนื่องจากพูดคนละภาษา แรงงานไม่มีประสบการณ์ในการทำงานและอยู่ทำงานได้ไม่นาน การทำเรื่องขอบัตรทำงานของแรงงานมีความล่าช้ามากขนาดของแหล่งน้ำไม่เพียงพอต่อการดูแลรักษาต้นทุเรียน เกษตรกร ได้มีการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค์ต่างโดยการให้แรงงานที่ทำงานอยู่แล้วให้ญาติหรือคนในหมู่บ้านมาทำงานแล้วใช้ภาษามือในการสอนงานคนที่พูดภาษาไทยไม่ได้มีการเพิ่มค่าแรงให้กับคนงานที่ทำงานอยู่นานและมีประสบการณ์ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ | |
dc.subject | ทุเรียน -- การปลูก | |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกทุเรียนของเกษตรกรในตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี | |
dc.title.alternative | Fctors ffecting durin plnting of frmers in ng kiri sub-district, mkhm district, chnthburi province. | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This research titled "Factors affecting durian planting of farmers in Ang Kiri Sub-district, Makham District, Chanthaburi Province" attempts 1) to study personal factors affecting durian planting of farmers in Ang Kiri Sub-district, Makham District, Chanthaburi Province and 2) to investigate economic factors as well as physical factors contributing to decision making to plant durian of farmers in Ang Kiri Sub-district, Makham District, Chanthaburi Province. The subjects were 300 households of farmers of Durian orchards in Makham District, Chanthaburi Province for questionnaires and other 10 households for the in-depth interviews. The findings matched to the hypothesis and it was found that the majority of subjects were males, were in the age of 31-40, obtained primary school level of education, earned the average yearly income of 750,000–1,000,000 baht, had six to ten labors for planting durian, their cost to plant durian was between 100,001–200,000 baht, and the popular variety is Mon Thong. The farmers received the information or news from television program and they used engines for planting (e.g. tractor, backho), the soil is loam located in plateau, the size of water resources was smaller than one rai, the transportation was convenient in some area, durian orchards' area were between 26-50 rais, and the farmers had three to six years of experience. From the interviews, it was found that the major reason to plant durian is because of it high demand. The price was good all season, durian is an economic fruit earning high value. In addition, their family had planted durian since the time of their ancestor. The problems and obstacles that farmers encountered were difficult to find labors, alian labor cannot communicate in Thai language, the labos also did not have experience in durian farming and with thise reason they did not work longer. Moreover, the process to apply for alien work permit was really delay, the water resources were not enough to plant durian. To solve problems and obstacles, they asked their current labors to suggest their relatives or acquaintances to work with them and they use hand language to communicate labors who can't speak Thai and increase income for workers who have been working for long and had experience. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบริหารธุรกิจ | |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น