กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6385
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าเป็นสมาชิกกองทุนวันละ 1 บาท ตำบลน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors ffecting becoming members of one bht dy sving fund t nm chiew sub-district, lem ngob district, trt province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลือชัย วงษ์ทอง
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
เปมิกา ช่อทอง
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: กองทุนเงินสะสม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าเป็นสมาชิกกองทุนวันละ 1 บาท ตำบลน้ำ เชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด 2. เพื่อศึกษาอิทธิพลที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าเป็นสมาชิกกองทุนวันละ 1 บาท ตำบลน้ำ เชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด 3. เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดธุรกิจบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าเป็นสมาชิก กองทุนวันละ 1 บาท ตำบลน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด 4. เพื่อศึกษาการพัฒนาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าเป็นสมาชิกกองทุนวันละ 1 บาท ตำบลน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของสมาชิกกองทุน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่า เพศชาย มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีจำนวนมากที่สุด และอายุต่ำ 15 ปี-24 ปี มีจำนวนน้อยที่สุด สถานภาพโสด มีจำนวนมากที่สุด และหย่า(ร้าง)/ ม่าย มีจำนวนน้อยที่สุด การศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ลงมา มีจำนวนมากที่สุด และระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีจำนวนน้อยที่สุด อาชีพรับจ้างทั่วไป มีจำนวนมากที่สุด และอาชีพค้าขายมีจำนวนน้อยที่สุด ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยทางอิทธิพลส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าเป็นสมาชิกกองทุนวันละ 1 บาท ตำบลน้ำเชี่ย อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ทั้ง 2 อิทธิพลคืออิทธิพลทางครอบครัว และอิทธิพลทางสังคม 2. ส่วนประสมทางการตลาดธุรกิจให้ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าเป็นสมาชิกกองทุนวันละ 1 บาท ตำบลน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านส่งเสริม การตลาด ด้านบุคคลหรือพนักงาน ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ ข้อเสนอแนะควรมีการพัฒนาขั้นตอนในการให้บริการมีความรวดเร็วรวมไปถึงจะต้องไม่ซับซ้อน ควรมีประชาสัมพันธ์ในผลการดำเนินงานของกองทุนให้สมาชิกได้รับทราบ และควรมีการเตรียมพร้อมรองรับในการปรับอัตราค่าชดเชยให้เข้ากับสังคมในอนาคตและต้องมีการพัฒนาสวัสดิการการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับสวัสดิการที่มีอยู่
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6385
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น