กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6382
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานเพื่อสังคมของบุคลากร บริษัท อีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Socil cognitive lerning fctors contributing to corporte socil behviors of personnel in Electrolux Co., Ltd. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชนิสรา แก้วสวรรค์ ภัทรพงษ์ โต๊ะจงมล มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ พนักงานบริษัท ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ อาสาสมัครในงานบริการสังคม |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม และพฤติกรรมการทำงานที่มีความรับผิดชอบเพื่อสังคมของบุคลากร บริษัท อีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย จำกัด กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นบุคลากรของบริษัท อีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย จำกัด ทุกแผนก จำนวน 324 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของบุคลากร ปัจจัยการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม และพฤติกรรมการทำงานที่มีความรับผิดชอบเพื่อสังคม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSSfor Windows ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 18-29 ปี มีระยะเวลา ปฏิบัติงานต่ำกว่า 5 ปีสถานภาพโสด และมีลักษณะงานปฏิบัติการโรงงาน ปัจจัยการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมของผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นบุคลากรของบริษัท อีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย จำกัด โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมากโดยประกอบด้วย 6 ด้าน คือ ด้านจิตสาธารณะ ด้านเจตคติที่ดีต่อความรับผิดชอบเพื่อสังคม ด้านความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ ด้านการรับรู้นโยบาย ความรับผดิชอบเพื่อสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านการมีตัวแบบอย่างที่ดีและด้านการสนับสนุนทางสังคมจากหัวหน้ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ตามลำดับ ต่อมาพฤติกรรมการทำงานที่มีความรับผิดชอบเพื่อสังคมของผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นบุคลากรของบริษัท อีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย จำกัด โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก โดยประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมากและด้านการร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ตามลำดับ ส่วนด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตสังคมกับพฤติกรรมการทำงานเพื่อสังคมอยู่ในระดับปานปานกลางข้อเสนอแนะการพัฒนาพฤติกรรมการทำงานที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมควรเพิ่มปัจจัยการสร้างตัวแบบที่ดีในการทำงานกับพนักงานจะส่งผลให้พนักงานมีพฤติกรรมการทำงานที่มีความรับผดิชอบต่อสังคม |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6382 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.1 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น