กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6359
ชื่อเรื่อง: การจัดการพื้นที่สาธารณะของท่าอากาศยานภูเก็ต บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Public re mngement in phuket interntionl irport of irports of thilnd public compny limited (ot)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนิสรา แก้วสวรรค์
นนทวัฒน์ อ้องแสนคำ
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: สวนสาธารณะ -- การออกแบบ
สวนสาธารณะ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการท่าอากาศยานภูเก็ตของผู้โดยสาร2) เพื่อพัฒนาพื้นที่สาธารณะของท่าอากาศยานภูเก็ตให้ตอบสนองตามความต้องการของผู้โดยสารและ 3) เพื่อนำเสนองานวิจัยการจัดการพื้นที่สาธารณะของท่าอากาศยานภูเก็ต บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ต่อผู้บริหารท่าอากาศยานภูเก็ต การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างคือผู้โดยสารขาออกและขาเข้า ในปีพ.ศ. 2559 โดยผ่านขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อจุดประสงค์ในการเดินทางด้วยเครื่องบินโดยสารเป็นพาหนะเพื่อการเดินทางภายในประเทศและระหว่างประเทศ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การประมาณค่าการทดสอบสมมติฐาน (Independent sample t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-way ANOVA) ในกรณีที่พบความแตกต่างใช้เปรียบเทียบรายคู่ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยใช้วิธี Least of Significant Difference (LSD) เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัย พบว่าลักษณะทางประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ประกอบด้วย เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และอาชีพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51 มีอายุ 22-27 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.00 วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 49.30 และส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพพนักงานบริษัท คิดเป็นร้อยละ 30.80 การวิเคราะห์คุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานภูเก็ต ในภาพรวมทุกด้านมีความพึงพอใจระดับปานกลาง ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจระดับมาก ได้แก่ ด้านการหาหนทางด้านสิ่งแวดล้อมของท่าอากาศยาน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยาน มีความพึงพอใจระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการรักษาความปลอดภัย และด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลการจัดการพื้นที่สาธารณะท่าอากาศยานภูเก็ตในภาพรวมทุกด้าน มีความพึงพอใจปานกลางจากกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจ ระดับปานกลาง ได้แก่ การให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน และการให้บริการอย่างเพียงพอ มีความพึงพอใจระดับน้อย ได้แก่ การให้บริการอย่างต่อเนื่อง การให้บริการอย่างก้าวหน้า และการให้บริการอย่างรวดเร็วทันเวลา เมื่อทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานภูเก็ต ได้แก่ วุฒิการศึกษา และปัจจัยส่วนบุคคลที่ไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานภูเก็ต ได้แก่ เพศอายุ และอาชีพ และการจัดการพื้นที่สาธารณะท่าอากาศยานภูเก็ตมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการให้บริการท่าอากาศยานภูเก็ตอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.009) ทั้งนี้ข้อเสนอแนะด้านคูณภาพการให้บริการ ควรหามาตรการปรับปรุงการให้บริการและควรมีการประกาศข่าวสารและข้อมูลรายละเอียดแก่ผู้รับบริการ และควรพัฒนาให้มีความรวดเร็ว และน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6359
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.47 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น