กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6359
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorชนิสรา แก้วสวรรค์
dc.contributor.authorนนทวัฒน์ อ้องแสนคำ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T02:44:08Z
dc.date.available2023-05-12T02:44:08Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6359
dc.descriptionงานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการท่าอากาศยานภูเก็ตของผู้โดยสาร2) เพื่อพัฒนาพื้นที่สาธารณะของท่าอากาศยานภูเก็ตให้ตอบสนองตามความต้องการของผู้โดยสารและ 3) เพื่อนำเสนองานวิจัยการจัดการพื้นที่สาธารณะของท่าอากาศยานภูเก็ต บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ต่อผู้บริหารท่าอากาศยานภูเก็ต การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างคือผู้โดยสารขาออกและขาเข้า ในปีพ.ศ. 2559 โดยผ่านขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อจุดประสงค์ในการเดินทางด้วยเครื่องบินโดยสารเป็นพาหนะเพื่อการเดินทางภายในประเทศและระหว่างประเทศ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การประมาณค่าการทดสอบสมมติฐาน (Independent sample t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-way ANOVA) ในกรณีที่พบความแตกต่างใช้เปรียบเทียบรายคู่ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยใช้วิธี Least of Significant Difference (LSD) เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัย พบว่าลักษณะทางประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ประกอบด้วย เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และอาชีพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51 มีอายุ 22-27 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.00 วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 49.30 และส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพพนักงานบริษัท คิดเป็นร้อยละ 30.80 การวิเคราะห์คุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานภูเก็ต ในภาพรวมทุกด้านมีความพึงพอใจระดับปานกลาง ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจระดับมาก ได้แก่ ด้านการหาหนทางด้านสิ่งแวดล้อมของท่าอากาศยาน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยาน มีความพึงพอใจระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการรักษาความปลอดภัย และด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลการจัดการพื้นที่สาธารณะท่าอากาศยานภูเก็ตในภาพรวมทุกด้าน มีความพึงพอใจปานกลางจากกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจ ระดับปานกลาง ได้แก่ การให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน และการให้บริการอย่างเพียงพอ มีความพึงพอใจระดับน้อย ได้แก่ การให้บริการอย่างต่อเนื่อง การให้บริการอย่างก้าวหน้า และการให้บริการอย่างรวดเร็วทันเวลา เมื่อทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานภูเก็ต ได้แก่ วุฒิการศึกษา และปัจจัยส่วนบุคคลที่ไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานภูเก็ต ได้แก่ เพศอายุ และอาชีพ และการจัดการพื้นที่สาธารณะท่าอากาศยานภูเก็ตมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการให้บริการท่าอากาศยานภูเก็ตอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.009) ทั้งนี้ข้อเสนอแนะด้านคูณภาพการให้บริการ ควรหามาตรการปรับปรุงการให้บริการและควรมีการประกาศข่าวสารและข้อมูลรายละเอียดแก่ผู้รับบริการ และควรพัฒนาให้มีความรวดเร็ว และน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectสวนสาธารณะ -- การออกแบบ
dc.subjectสวนสาธารณะ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
dc.titleการจัดการพื้นที่สาธารณะของท่าอากาศยานภูเก็ต บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
dc.title.alternativePublic re mngement in phuket interntionl irport of irports of thilnd public compny limited (ot)
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis study attempts 1) to examine service quality toward passengers at Phuket International Airport, 2) to develop public area at Phuket International Airport in respond to passengers' requirements, and 3) to propose research study on public area management at Phuket International Airport to the administrators of the airport. Data were collected using questionnaires with 400 passengers at Arrivals and Departures in 2016 at several stages at the airport. The statistics utilized in the study included frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent-Sample T-Test, and One-way ANOVA when found the difference, Least of Significant Difference (LSD) was applied when comparing each pair of factors at statistically significant level of 0.05 in order to prove hypothesis. The findings reveal the demographic characteristics of 400 subjects that the majority of them were females (51.00 per cent), were between 22-27 years old (34.00 per cent), obtained bachelor degree (49.30 per cent), and were company employee (30.80 per cent). The analysis on service quality at Phuket International Airport shows that the satisfaction levels were moderate in overall. The factors that the subjects satisfied at high level were finding direction, etc. while security, and rule, regulation, and restriction rules were at moderate level. It was found from the analysis of public area management at Phuket International Airport that the subjects satisfied with providing service equally at the moderate level while their attitudes toward continuous service were at low level. When testing hypothesis, it was found that personal factors having an influence on satisfaction in service quality at Phuket International Airport were certificate. Personal factors that did not influence satisfaction on service quality at Phuket International Airport were gender, age, and occupation. Public area management correlated with service quality at Phuket International Airport at low level (r = 0.009). It was suggested for service quality that there should find.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการจัดการสาธารณะ
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.47 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น