กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6354
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorศักดิ์ชาย จันทร์เรือง
dc.contributor.advisorนุจรี ภาคาสัตย์
dc.contributor.authorสกุล กิตติพีรชล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T02:44:07Z
dc.date.available2023-05-12T02:44:07Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6354
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหาปัจจัยเชิงสาเหตุความสามารถในการปรับตัวของบุคลากรและ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสามารถในการปรับตัวของบุคลากรในองค์กรและผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับงานของของบุคลากรในองค์กรธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์กับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-methods research) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก (In-depth interview) เกี่ยวกับปัจจัยเชิงสาเหตุความสามารถในการปรับตัวของบุคลากร กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในบริษัทที่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และเคยผ่านการทำงานในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2540 จำนวน 17 คน การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยการเก็บตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากแหล่งข้อมูลของบริษัทที่เป็นสมาชิกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยประจำปี พ.ศ. 2559 จำนวน 617 บริษัท กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่ทำงานอยู่ในบริษัทของธุรกิจ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ จำนวน 617 คน โดยวิธีการเลือกแบบสะดวกบุคลากรที่มีอายุการทำงาน 10 ปีขึ้นไป โดยการใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างทั้งนี้ได้รับแบบสอบถามคืนกลับมา 404 ชุด คิดเป็นร้อยละ 65.48 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาค่าเฉลี่ยค่าร้อยละและการวิเคราะห์ โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural equation modeling) โดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า องค์ประกอบของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการปรับตัวของบุคลากรกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 1) สมรรถนะได้แก่ การเปิดใจ รับประสบการณ์ และการมีจิตสำนึก 2) ทุนมนุษย์ได้แก่ ประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาและการรับรู้ ความสามารถในการทำงาน 3) สภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้แก่ การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาความต้องการในงาน การสื่อสารการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน และการสนับสนุนจากองค์การ องค์ประกอบความสามารถในการปรับตัวประกอบไปด้วยความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความสามารถในการเรียนรู้เทคโนโลยีและทักษะใหม่ ๆ ความสามารถในการจัดการกับความเครียดในที่ทำงาน ความสามารถในการปรับตัวทางวัฒนธรรม และความสามารถในการมีความคิดสร้างสรรคองค์ประกอบผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน ประกอบไปด้วยผลการปฏิบัติงานที่ดีมีความสุขในการทำงาน และความตั้งใจที่จะลาออกต่ำ ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสามารถในการปรับตัวของบุคลากรในองค์กรธุรกิจมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับงานของบุคลากรในองค์กรธุรกิจ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ทั้งนี้ปรากฏชัดเจนด้วยดัชนีวัดระดับความกลมกลืน การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาจากค่าไค-สแควร์ ( 2 ) มีค่าเท่ากับ 87.99 องศาอิสระ (df) เท่ากับ 68 ค่า p-value มีค่าเท่ากับ 0.052 และค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ ( 2 /df) มีค่าเท่ากับ 1.293 หากเมื่อพิจารณาในประเด็นดัชนีระดับความกลมกลืน ปริมาณความแปรปรวน และความแปรปรวนร่วมที่อธิบายได้ด้วยโมเดล (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.975 และค่าปริมาณความแปรปรวนและความแปรปรวนร่วมที่อธิบายได้ด้วยโมเดลโดยการปรับแก้ด้วยความซับซ้อนของโมเดล (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.944 ส่วนค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.027 นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่า 1) สมรรถนะมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสามารถในการปรับตัว 2) ทุนมนุษย์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสามารถในการปรับตัว 3) สภาพแวดล้อมในการทำงาน มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสามารถในการปรับตัว 4) สมรรถนะไม่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน 5) ทุนมนุษย์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน 6) สภาพแวดล้อมในการทำงาน มีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน และ 7) ความสามารถในการปรับตัวมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับงานทั้งนี้ผลการยืนยันโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความสามารถในการปรับตัวของบุคลากรในองค์กรธุรกิจและผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับงานว่า มีความสัมพันธ์กัน มีความเป็นไปได้ และถูกต้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีและกรอบแนวคิดในการวิจัย
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการปรับตัวทางสังคม
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์
dc.subjectอุตสาหกรรมยานยนต์ -- บุคลากร
dc.titleปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการปรับตัวของบุคลากรกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
dc.title.alternativeAntecedents of employees dptbility in utomotive industry
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to determine the factors influence employee adaptability and 2) to examine the causal relationship model between employee adaptability, work-related outcomes and empirical data. The research employed mixed qualitative and quantitative methods. In respect to qualitative research, the researcher conducted in-depth interviews concerning factors influencing the employee adaptability in automotive industry. Key informants were seventeen managers with more than 40 years of age and had experiences with the economic crisis in the year 1997. In regard to the quantitative research, the research tool was a questionnaire to collect data from 617 employees of companies in automotive industry. From the sample of 617 employees of companies in automotive industry, the respondents were 404 employees of companies in automotive industry (65.48%). The statistics used in data analysis were frequency, mean, and structural equation model analysis by using LISREL. From the qualitative study, it is found that the factors influence employee adaptability consist of competency (openness to experiences and conscientiousness), human capital (previous experiences and perceived employability), working environments (support from superiors, job demands, communication, support from colleagues and support from organization). The adaptability factor consists of interpersonal ability, learning new technology and skills ability, handling stress in the workforce ability, cultural adaptability and creative problem solving ability. The workrelated outcomes factor consists of good performance, happiness at work and low intention to quit. From the quantitative study, it is found that the causal relationship model of employee adaptability and work-related outcomes were well consistent with empirical data. Goodness of fit measures were found to be: Chi-Square ( 2 ) is 87.99 at degree of freedom 68, P-value 0.052 Chi-Square relative ( 2 /df) is 1.293, Goodness of Fit Index (GFI) is 0.975. Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) is 0.944 and Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) is 0.027. It is also found that 1) competency had positive effects on adaptability 2) human capital had positive effects on adaptability 3) working environments had positive effects on adaptability and 4) competency had indirect positive effects on work-related outcomes 5) human capital had positive effects on work-related outcomes 6) working environments had positive effects on work-related outcomes and 7) adaptability had positive effects on work-related outcomes. Furthermore, the causal relationship model of employee adaptability and work-related outcomes were found related, possible, corrected useful and consistent with conceptual framework and theory
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น