กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6351
ชื่อเรื่อง: ผลของการฝึกจินตภาพแบบ Pettlep ที่มีต่อความสามารถในการโยนและรับบอล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of pettlep imgery model on bll juggling bility
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร
สุรีพร อนุศาสนนันท์
ฉัตรกมล สิงห์น้อย
รัชตะ รอสูงเนิน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: สมรรถภาพทางกาย -- การทดสอบ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
จินตภาพ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกจินตภาพแบบ PETTLEP ที่มีผลต่อความสามารถในการโยนและรับบอล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 32 คน เป็นนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาที่มีอายุระหว่าง 18-22 ปี (  =20.03, SD =.595) ที่ไม่เคยผ่านการฝึกจินตภาพ และการโยนและรับบอลมาก่อน จากนั้นกลุ่มตัวอย่างทดสอบการโยนและรับบอลด้วยมือข้างที่ถนัด และใช้แบบสอบถามการจินตภาพการเคลื่อนไหว-3(Movement imagery questionnaire-3:MIQ-3) เป็นเครื่องมือในการวัดความสามารถในการจินตภาพแล้วแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีความสามารถสูงจำนวน 16 คน และกลุ่มที่มีความสามารถต่ำจำนวน 16 คน การทดลองครั้งนี้ใช้ เวลา 9 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ช่วงโดย 8 สัปดาห์แรกของการทดลองเพื่อศึกษาอิทธิพลจากการฝึกจินตภาพร่วมกับการฝึกโยนและรับบอล จากนั้นหยุดการฝึก 1 สัปดาห์เพื่อศึกษาการคงอยู่ของทักษะและวัดความสามารถการจินตภาพการเคลื่อนไหวในการทดลองแต่ละวัน กลุ่มตัวอย่างทำการจินตภาพแบบ PETTLEP เป็นเวลาประมาณ 5 นาที ก่อนการฝึกโยนและรับบอลจำนวน 10 ตก ทำการเก็บข้อมูลทุกครั้ง สถิติที่ใช้ในการทดสอบ สถิติทดสอบที แบบเป็นอิสระต่อกัน (Independent sample t-test) การวัดความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (ANOVA with repeated measures) ผลการวิจัยพบว่าการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการโยนและรับบอลภายในกลุ่มที่มีความสามารถสูง และภายในกลุ่มที่มีความสามารถต่ำในช่วงก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตาม ผล เมื่อได้รับการฝึกการจินตภาพแบบ PETTLEP มีผลทำให้การเรียนรู้ในการโยนและรับบอลดีขึ้น นอกจากนั้น เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในการโยนและรับบอล ระหว่างกลุ่มที่มีความสามารถสูง และกลุ่มที่มีความสามารถต่ำมีความแตกต่างกัน (t=3.468) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในช่วงก่อนการทดลอง และพบว่าในช่วงหลังการทดลอง และระยะติดตามผลนั้น ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6351
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น