กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6351
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorนฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร
dc.contributor.advisorสุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.advisorฉัตรกมล สิงห์น้อย
dc.contributor.authorรัชตะ รอสูงเนิน
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned2023-05-12T02:44:06Z
dc.date.available2023-05-12T02:44:06Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6351
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกจินตภาพแบบ PETTLEP ที่มีผลต่อความสามารถในการโยนและรับบอล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 32 คน เป็นนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาที่มีอายุระหว่าง 18-22 ปี (  =20.03, SD =.595) ที่ไม่เคยผ่านการฝึกจินตภาพ และการโยนและรับบอลมาก่อน จากนั้นกลุ่มตัวอย่างทดสอบการโยนและรับบอลด้วยมือข้างที่ถนัด และใช้แบบสอบถามการจินตภาพการเคลื่อนไหว-3(Movement imagery questionnaire-3:MIQ-3) เป็นเครื่องมือในการวัดความสามารถในการจินตภาพแล้วแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีความสามารถสูงจำนวน 16 คน และกลุ่มที่มีความสามารถต่ำจำนวน 16 คน การทดลองครั้งนี้ใช้ เวลา 9 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ช่วงโดย 8 สัปดาห์แรกของการทดลองเพื่อศึกษาอิทธิพลจากการฝึกจินตภาพร่วมกับการฝึกโยนและรับบอล จากนั้นหยุดการฝึก 1 สัปดาห์เพื่อศึกษาการคงอยู่ของทักษะและวัดความสามารถการจินตภาพการเคลื่อนไหวในการทดลองแต่ละวัน กลุ่มตัวอย่างทำการจินตภาพแบบ PETTLEP เป็นเวลาประมาณ 5 นาที ก่อนการฝึกโยนและรับบอลจำนวน 10 ตก ทำการเก็บข้อมูลทุกครั้ง สถิติที่ใช้ในการทดสอบ สถิติทดสอบที แบบเป็นอิสระต่อกัน (Independent sample t-test) การวัดความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (ANOVA with repeated measures) ผลการวิจัยพบว่าการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการโยนและรับบอลภายในกลุ่มที่มีความสามารถสูง และภายในกลุ่มที่มีความสามารถต่ำในช่วงก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตาม ผล เมื่อได้รับการฝึกการจินตภาพแบบ PETTLEP มีผลทำให้การเรียนรู้ในการโยนและรับบอลดีขึ้น นอกจากนั้น เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในการโยนและรับบอล ระหว่างกลุ่มที่มีความสามารถสูง และกลุ่มที่มีความสามารถต่ำมีความแตกต่างกัน (t=3.468) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในช่วงก่อนการทดลอง และพบว่าในช่วงหลังการทดลอง และระยะติดตามผลนั้น ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectสมรรถภาพทางกาย -- การทดสอบ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.subjectจินตภาพ
dc.titleผลของการฝึกจินตภาพแบบ Pettlep ที่มีต่อความสามารถในการโยนและรับบอล
dc.title.alternativeEffects of pettlep imgery model on bll juggling bility
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe research was to examine the effect of PETTLEP imagery on ball juggling ability. The participants were 32 sport science students age between18-22 years (  =20.03, SD =.595). Moreover, participants had no experience in imagery training and ball juggling with prefers hand. The participants were tested with the ball juggling ability to divide into 2 groups: high juggling ability and low juggling ability, and tested by movement imagery questionnaire-3. The research design was conducted in nine weeks (three times per week) and the program included a set of training (imagery for 5 minutes combined with 10 times of the ball juggling practice). There were 2 stages of experiments with 8 weeks of learning stage (the pre- post-test) and stop learning 1week before retention test and the movement imagery ability test in week 9th. Statistical analysis used were independent t-test and ANOVA with repeated measures. The results were that the PETTLEP imagery was effective to juggling skill and movement imagery ability in both groups. The comparisons between high and low juggling ability group was not significant different at .05. However, the average mean of ball juggling ability in both groups was significant increasingly in pre-, post-test and retention at .05. Moreover, the average mean of movement imagery ability was different significantly in pre-test, but was not different significantly in post-test and retention period (P < .05)..
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น