กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6340
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารของบริษัทตัวแทนผู้ส่งออกในจังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A guideline to increse efficiency of pperless customs system of export brokers in chon buri province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ณภัคอร ปุณยภาภัสสร พิทยาพร พรรณโรจน์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ศุลกากร ศุลกากร -- การทำงาน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ระบบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก ศุลกากร -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพการบริการของระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร และเพื่อค้นหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารของตัวแทน ผู้ส่งออกในจังหวัดชลบุรี กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือบริษัทผู้ส่งออกในจังหวัดชลบุรี ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและจดทะเบียนกบกระทรวงพาณิชย์ จํานวน 3 ราย บริษัทตัวแทนผู้ส่งออกในจังหวัดชลบุรี ที่เป็นสมาชิกสมาคมตัวแทนออกของรับอนุญาตไทย จํานวน 5 ราย เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรในเขตท่าเรือแหลมฉบังที่ดูแลระบบ E-paperless จํานวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเชิงปริมาณคือ บริษัทตัวแทนผู้ส่งออกที่เป็นสมาชิก สมาคมตัวแทนออกของรับอนุญาตไทย ในจังหวัดชลบุรี จํานวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่, ร้อยละ, x , SD, t-test, F-test, LSD และ Multiple regression analysis ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบวาการศึกษาประสิทธิภาพของระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารของตัวแทนผู้ส่งออกในจังหวัดชลบุรีเสนอแนวทางการแก้ปัญหาต่อความล่าช้าของการรับส่งข้อมูลระหว่างตัวแทนผู้ส่งออกกบกรมศุลกากรผ่านระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์อํานวยความสะดวกต่อธุรกิจการส่งออก โดยลดปริมาณการใช้เอกสาร เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งออกได้ ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็ นตัวแทนดําเนินพิธีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารให้กับประเภทอุตสาหกรรมอุปกรณ์ และส่วนประกอบรถยนต์ เป็ นเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 36-40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีอายุงานระหว่าง 4-8 ปี ผลการวิจัยพบว่า อายุ และอายุงานของผู้ใช้ระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ต่างกันจะมีประสิทธิภาพของระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกัน และคุณภาพการบริการของระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบ ศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารในระดับมาก |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6340 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.74 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น