Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพการบริการของระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร และเพื่อค้นหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารของตัวแทน ผู้ส่งออกในจังหวัดชลบุรี กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือบริษัทผู้ส่งออกในจังหวัดชลบุรี ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและจดทะเบียนกบกระทรวงพาณิชย์ จํานวน 3 ราย บริษัทตัวแทนผู้ส่งออกในจังหวัดชลบุรี ที่เป็นสมาชิกสมาคมตัวแทนออกของรับอนุญาตไทย จํานวน 5 ราย เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรในเขตท่าเรือแหลมฉบังที่ดูแลระบบ E-paperless จํานวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเชิงปริมาณคือ บริษัทตัวแทนผู้ส่งออกที่เป็นสมาชิก สมาคมตัวแทนออกของรับอนุญาตไทย ในจังหวัดชลบุรี จํานวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่, ร้อยละ, x , SD, t-test, F-test, LSD และ Multiple regression analysis ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบวาการศึกษาประสิทธิภาพของระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารของตัวแทนผู้ส่งออกในจังหวัดชลบุรีเสนอแนวทางการแก้ปัญหาต่อความล่าช้าของการรับส่งข้อมูลระหว่างตัวแทนผู้ส่งออกกบกรมศุลกากรผ่านระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์อํานวยความสะดวกต่อธุรกิจการส่งออก โดยลดปริมาณการใช้เอกสาร เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งออกได้ ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็ นตัวแทนดําเนินพิธีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารให้กับประเภทอุตสาหกรรมอุปกรณ์ และส่วนประกอบรถยนต์ เป็ นเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 36-40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีอายุงานระหว่าง 4-8 ปี ผลการวิจัยพบว่า อายุ และอายุงานของผู้ใช้ระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ต่างกันจะมีประสิทธิภาพของระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกัน และคุณภาพการบริการของระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบ ศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารในระดับมาก