กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6317
ชื่อเรื่อง: | วิถีชีวิตแรงงานข้ามชาติกัมพูชาในเขตพื้นที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Wy of life of cmbodin migrnt workers in sri rch district, chon buri province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กฤษฎา นันทเพ็ชร พระพิสิทธิ์ เวอร์ท มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน แรงงานต่างด้าวกัมพูชา -- ไทย -- ชลบุรี |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาเรื่อง “วิถีชีวิตแรงงานข้ามชาติกัมพูชาในเขตพื้นที่อําเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพวิถีชีวิตของแรงงานข้ามชาติกัมพูชา ในเขตพื้นที่อําเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเดินทางมาทํางานของแรงงานข้ามชาติกัมพูชาในเขตพื้นที่อําเภอศรีราชาจังหวัด ชลบุรีและ 3) เพื่อค้นหาแนวทางในการพัฒนาการดําเนินชีวิตของแรงงานข้ามชาติกัมพูชา ในเขตพื้นที่อําเภอ ศรีราชาจังหวัดชลบุรีใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ (Quality research method) เก็บและรวบรวมข้อมูลโดยการ สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ให้ข้อมูลสําคัญและการสังเกตแบบไม่เป็นทางการกับกลุ่มตัวอย่างในเขตพื้นที่อําเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรีประกอบด้วย 1) แรงงานข้ามชาติกัมพูชา 10 คน 2) ผู้ประกอบการ 5 คน และ 3) นักวิชาการแรงงานข้ามชาติ 1 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis) ตรงตามวัตถุประสงค์ของ การศึกษาผลการศึกษา พบว่า 1) แรงงานข้ามชาติกัมพูชาในเขตพื้นที่อําเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรีมาทํางานตามการชักชวนของเครือญาติโดยนายจ้างจะเป็นผู้จดทะเบียนขออนุญาติทํางาน ด้านวิถีชีวิตแรงงานข้ามชาติกัมพูชา พบว่า (1) มิติด้านเศรษฐกิจแรงงานข้ามชาติกัมพูชาส่วนใหญ่ได้รับค่าจ้างเฉลี่ยระหว่าง 6,500-9,000 บาท จะ ส่งกลับบ้าน 7,000-7,500 บาท (2) มิติด้านสังคม แรงงานข้ามชาติกัมพูชาส่วนใหญ่มักไม่ค่อยได้ทํากิจกรรมทางสังคม และไม่นิยมออกนอกที่พักเนื่องจากกลัวเจ้าหน้าที่จับกุม และไม่อยากใช้เงินฟุ่มเฟือย (3) มิติด้านจิตใจ แรงงานข้ามชาติกัมพูชาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในงานที่ทําและคาดหวังจะทํางานในระยะยาวและ (4) มิติด้านวัฒนธรรม แรงงานข้ามชาติกัมพูชาส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีขนบธรรมเนียมที่ใกล้ชิดกับคนไทย 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเดินทางมาทํางานของแรงงานข้ามชาติกัมพูชา (1) ปัจจัยผลัก (Push factors) มาจาก เศรษฐกิจฝืดเคืองค่าจ้างแรงราคาถูกขาดความก้าวหน้า (2) ปัจจัยดึง (Pull factors) ค้าแรงสูง มีโอกาสได้ทํางาน มีสภาพแวดล้อมดีตามสามี-ภรรยา บิดา มารดา หรือบุตร 3) สําหรับแนวทางการพัฒนาวิถีชีวิตของแรงงานข้ามชาติกัมพูชา ประกอบด้วย (1) ส่งเสริมสนับสนุนด้านการศึกษาเล่าเรียนในระบบการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) (2) การพัฒนาทักษะทางด้านภาษาไทย (3) ส่งเสริมสนับสนุนลูกจ้างให้มีสิทธิในการจัดตั้งสหภาพแรงงานตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518, พ.ศ. 2534 |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6317 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.63 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น