กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6305
ชื่อเรื่อง: การบริหารจัดการทุนทางสังคมของชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The socil cpitl mngement of strongcommunity in burirm province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กฤษฎา นันทเพ็ชร
พระมหาศุภโชติ บุญวอน
วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
คำสำคัญ: ชุมชน -- การบริหาร
การบริหารจัดการ
ทุนทางสังคม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการทุนทางสังคมของชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ที่มีผลต่อการบริหารจัดการทุนทางสังคมของชุมชนเข้มแข็ง 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนและปัจัยอุปสรรคต่อการบริหารจัดการทุนทางสังคมของชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดบุรีรัมย์ และ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการทุนทางสังคมของชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดบุรีรัมย์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยในการวิจัยเชิงคุณภาพผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ผู้บริหารระดับจังหวัด นักวิชาการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชนผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มในชุมชนวิเคราะห์ โดยการสรุปและการจำแนกประเภทของข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้นำกลุ่ม กรรมการกลุ่ม สมาชิกกลุ่มชุมชนเข้มแข็งจำนวน 379 คนวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ด้านการบริหารจัดการทุนทางสังคมของชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดบุรีรัมย์ มี 3 ด้าน ได้แก่ 1) การบริหารจัดการทุนมนุษย์ ประกอบด้วย การบริหารทรัพยากรทุนมนุษย์การจัดให้มีระบบฐานข้อมูล ทุนมนุษย์ และการจําแนกตามโครงสร้างงาน 2) ด้านการบริหารจัดการทุนสถาบัน หรือกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มีกระบวนการบริหาร 7 ด้านได้แก่มีการการกำหนดหลักการด้านดำเนินงานมีการกำหนดวัตถุประสงคข์องกลุ่ม มีกิจกรรมของกลุ่มมีการกำหนดการวางแผนการจัดระเบียบมีการบริหารเงินทุนและทรัพยากรมีการกำหนด โครงสร้างและกระบวนการทํางาน มีการพัฒนาขีดความสามารถขององค์กร 3) การบริหารจัดการทุนทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรม มี 3 ด้าน ได้แก่ มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาและวัฒนธรรม มีการสร้างมูลค่าจากภูมิปัญญาและ วัฒนธรรม และมีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ด้านยุทธศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีผลต่อการบริหารจัดการทุนทางสังคมของชุมชนเข้มแข็งประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ดังนั้นยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจยุทธศาสตร์ ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ยุทธศาสตร์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ด้านรักษาความมั่นคง และความสงบ ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการด้านปัจจัยที่สนับสนุนและอุปสรรคของการบริหารจัดการทุนทางสังคมของชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดบุรีรัมย์ประกอบด้วยปัจจัย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการติดต่อประสานงาน ด้านการบริหารจัดการ ด้านการสนับสนุนจากภายนอกและด้านการพัฒนาขีดความสามารถแนวทางการบริหารจัดการทุนทางสังคมของชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดบุรีรัมย์ได้แก่ แนวทางการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์แนวทางการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพการบริหารทุนสถาบัน หรือ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาทุนภุมิปัญญาและวัฒนธรรม
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6305
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น