กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6292
ชื่อเรื่อง: | เครือข่ายการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ : กรณีศึกษาชุมชนบ้านนาอีสาน ตำบบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Network of prticiption in the conservtion of forest resources: cse study of bn n e-sn community, th krdn sub-district, snm chi khet district, chchoengso province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กาญจนา บุญยัง อัจฉริยาภรณ์ ไชยโย มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ |
คำสำคัญ: | การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ -- ฉะเชิงเทรา มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่อง “เครือข่ายการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านนาอีสาน ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการก่อรูปเครือข่ายและการจัดระบบบริหารเครือข่ายการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชุมชนบ้านนาอีสาน ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทราโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 2 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มภาครัฐ จำนวน 3 คน และกลุ่มวนเกษตรบ้านนาอีสาน (กลุ่มเพาะกล้าไม้บ้านนาอีสาน) จำนวน 6 คน ผลการวิจัย พบว่า การก่อรูปเครือข่ายของชุมชนบ้านนาอีสานเกิดจากการริเริ่มของชุมชนเอง เป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีรูปแบบไม่เป็นทางการ มีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน ซึ่งชุมชนเกิดความตระหนักและตื่นตัวในปัญหาใดปัญหาหนึ่งแล้วลงมือริเริ่มในการรวมตัวกันเข้าเป็นกลุ่มเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงหรือบรรเทาไปประกอบด้วย 1) การสร้างความตระหนักในปัญหาและสำนึกในการรวมตัว 2) การแสวงหาแกนนำที่ดีของเครือข่าย 3) การสร้างจุดร่วมของผลประโยชน์ และ 4) การสร้างแนวร่วมสมาชิกของเครือข่าย โดยมีการใช้เวทีการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการดำ เนินกิจกรรมและแลกเปลี่ยนความรู้สำหรับผลการศึกษาการจัดระบบบริหารเครือข่ายของชุมชนบ้านนาอีสาน พบว่า ปัจจุบันกลุ่มมีความชัดเจน เรื่องการจัดระบบบริหารเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วย 1) การจัดผังกลุ่มเครือข่าย 2) การจัดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในเครือข่าย 3) การจัดระบบติดต่อสื่อสารและ 4) การจัดระบบการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีจุดมุ่งหมายคือการต่อสู้เพื่อหาทางออกให้กับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจนประสบความสำเร็จ เพื่อรักษาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม คือ“มีกินมีใช้ตลอดชีวิต” มีชีวิตแบบพอเพียงและสามารถพึ่งตนเองได้โดยที่ไม่เป็นภาระต่อสังคมภายนอก |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6292 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.52 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น