กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6291
ชื่อเรื่อง: แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการตำแหน่งพนักงานพิทักษ์ป่า สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Work motivtion of government employee, forest rnger of protected res, regionl office 2 (srirch)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ
สายซอ ลิ้มกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: แรงจูงใจในการทำงาน
พนักงานราชการ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ ตำแหน่งพนักงานพิทักษ์ป่า สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และเพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ ตำแหน่งพนักงานพิทักษ์ป่า สังกัดสำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยเกี่ยวกับการทำงาน โดยเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด 209 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้การเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ย(Independent sample t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA และหาก พบว่า ค่า Levene’s test ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดใช้ค่า Brown-forsythe และค่า Welch วิเคราะห์ข้อมูลแทน และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการทดสอบ Dunnett T3โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า พนักงานพิทักษ์ป่ามีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยพนักงานพิทักษ์ป่ามีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านปัจจัยการบำรุงรักษาสูงกว่า ปัจจัยการจูงใจเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ปัจจัยการจูงใจที่เป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติงานสูงสุด คือความสำเร็จในงาน รองลงมาคือลักษณะของงานที่ปฏิบัติส่วนปัจจัยการบำรุงรักษา พบว่า สถานะของอาชีพเป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอันดับ สูงสุด รองลงมาคือความมั่นคงในงาน ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า พนักงานพิทักษ์ป่าที่มีอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน สถานภาพสมรส และที่อยู่ปัจจุบันต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานพิทักษ์ป่าที่มีสถานที่ปฏิบัติงาน ประเภทของงานที่ปฏิบัติและจังหวัดที่ปฏิบัติงานต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ หน่วยงานระดับปฏิบัติควรกำหนดอัตราเงินเบี้ยเลี้ยงในการ ปฏิบัติงานให้กับพนักงานพิทักษ์ป่าตามความเหมาะสมกับปริมาณงาน และความเสี่ยงของงานนั้น ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มแรงจูงใจในด้านเงินเดือน และจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานให้เพียงพอ เพื่อเป็นการเพิ่มแรงจูงใจด้านสภาพการทำงาน
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6291
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น