กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6288
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัยในการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) : กรณีศึกษาบ้านเอื้ออาทรระยอง วังหว้า
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Consuming behviours of fresh chicken prts mong people living in mphoe mueng, chon buri province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กฤษฎา นันทเพ็ชร
มณีรัตน์ ขุนอาจ
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: การจัดการสิ่งแวดล้อม -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
การจัดการสิ่งแวดล้อม
จุลินทรีย์ -- แง่สิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
บ้านเอื้ออาทร -- ไทย -- ระยอง
จุลินทรีย์ -- การใช้ประโยชน์ -- วิจัย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัยในการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM): กรณีศึกษาบ้านเอื้ออาทรระยอง วังหว้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การมีส่วนร่วมและเพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของผู้อาศัยในการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM): กรณีศึกษาบ้านเอื้ออาทรระยอง วังหว้า จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ ระยะเวลาที่อยู่ในชุมชน และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้อยู่อาศัยบ้านเอื้ออาทรระยอง วังหว้า จำนวน 179 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test และใช้สถิติ One-way ANOVA หากพบว่า มีความแตกต่าง จะทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Least significant difference test) ผลการศึกษาพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในรายละเอียดสรุปได้ว่า ผู้อยู่อาศัยมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) อันดับแรกคือการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ อยู่ในระดับปานกลางรองลงมาคือการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลาง การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลางและอันดับสุดท้าย คือการมีส่วนร่วมในการประเมินผลอยู่ในระดับปานกลางผลการทดสอบสมมติฐาน จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของ ผู้อยู่อาศัย พบว่า ผู้อยู่อาศัยที่มีอายุการศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนผู้อยู่อาศัยที่มีเพศ อาชีพ ระยะเวลาที่อยู่ในชุมชนและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) ต่างกัน มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6288
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น