Abstract:
การศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัยในการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM): กรณีศึกษาบ้านเอื้ออาทรระยอง วังหว้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การมีส่วนร่วมและเพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของผู้อาศัยในการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM): กรณีศึกษาบ้านเอื้ออาทรระยอง วังหว้า จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ ระยะเวลาที่อยู่ในชุมชน และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้อยู่อาศัยบ้านเอื้ออาทรระยอง วังหว้า จำนวน 179 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test และใช้สถิติ One-way ANOVA หากพบว่า มีความแตกต่าง จะทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Least significant difference test) ผลการศึกษาพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในรายละเอียดสรุปได้ว่า ผู้อยู่อาศัยมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) อันดับแรกคือการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ อยู่ในระดับปานกลางรองลงมาคือการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลาง การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลางและอันดับสุดท้าย คือการมีส่วนร่วมในการประเมินผลอยู่ในระดับปานกลางผลการทดสอบสมมติฐาน จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของ ผู้อยู่อาศัย พบว่า ผู้อยู่อาศัยที่มีอายุการศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนผู้อยู่อาศัยที่มีเพศ อาชีพ ระยะเวลาที่อยู่ในชุมชนและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) ต่างกัน มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย