DSpace Repository

การมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัยในการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) : กรณีศึกษาบ้านเอื้ออาทรระยอง วังหว้า

Show simple item record

dc.contributor.advisor กฤษฎา นันทเพ็ชร
dc.contributor.author มณีรัตน์ ขุนอาจ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:42:18Z
dc.date.available 2023-05-12T02:42:18Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6288
dc.description งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัยในการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM): กรณีศึกษาบ้านเอื้ออาทรระยอง วังหว้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การมีส่วนร่วมและเพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของผู้อาศัยในการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM): กรณีศึกษาบ้านเอื้ออาทรระยอง วังหว้า จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ ระยะเวลาที่อยู่ในชุมชน และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้อยู่อาศัยบ้านเอื้ออาทรระยอง วังหว้า จำนวน 179 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test และใช้สถิติ One-way ANOVA หากพบว่า มีความแตกต่าง จะทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Least significant difference test) ผลการศึกษาพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในรายละเอียดสรุปได้ว่า ผู้อยู่อาศัยมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) อันดับแรกคือการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ อยู่ในระดับปานกลางรองลงมาคือการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลาง การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลางและอันดับสุดท้าย คือการมีส่วนร่วมในการประเมินผลอยู่ในระดับปานกลางผลการทดสอบสมมติฐาน จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของ ผู้อยู่อาศัย พบว่า ผู้อยู่อาศัยที่มีอายุการศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนผู้อยู่อาศัยที่มีเพศ อาชีพ ระยะเวลาที่อยู่ในชุมชนและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) ต่างกัน มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การจัดการสิ่งแวดล้อม -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
dc.subject การจัดการสิ่งแวดล้อม
dc.subject จุลินทรีย์ -- แง่สิ่งแวดล้อม
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
dc.subject บ้านเอื้ออาทร -- ไทย -- ระยอง
dc.subject จุลินทรีย์ -- การใช้ประโยชน์ -- วิจัย
dc.title การมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัยในการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) : กรณีศึกษาบ้านเอื้ออาทรระยอง วังหว้า
dc.title.alternative Consuming behviours of fresh chicken prts mong people living in mphoe mueng, chon buri province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to examine a level of tenant participation in conserving environment by using Effective Microorganisms (EM) in Baan Eua-Arthon, located in Wangwa sub-district, Rayong Province. Also, this study intended to compare the level of tenant participation as classified by gender, age, educational level, occupation, length of residency in the community, and a level of knowledge and understanding of the use of Effective Microorganisms (EM). The subjects participating in this study were 179 residents living in Baan Eua-Arthon, located in Wangwa sub-district, Rayong Province. The statistical tests used to analyze the collected data included percentage, means, and standard deviation. To test the research hypotheses, the tests of t-test and One-way ANOVA were administered. The Least Significant Difference test (LSD) was also employed to test the differences between pairs. The results of the study revealed that the level of tenant participation in conserving environment by using Effective Microorganisms (EM) in Baan Eua-Arthon, located in Wangwa sub-district, Rayong Province was at a moderate level. Specifically, the participation in receiving benefits was rated the highest, followed by the ones in relation to decision-making, operation, and evaluation, respectively. Also, based on the results from the comparisons, it was shown that no statistically significant differences were found in the level of participation in conserving environment by using Effective Microorganisms (EM) in Baan Eua-Arthon among the subjects with different age and educational level. Thus, the research hypothesis was rejected. Finally, there were statistically significant differences in the level of participation in conserving environment by using Effective Microorganisms (EM) in Baan Eua-Arthon among the subjects with different gender, occupation, length of residency in the community, and the level of knowledge and understanding of the use of Effective Microorganisms (EM) at a significant level of .05. Therefore, the research hypothesis was accepted.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารทั่วไป
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account