กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6263
ชื่อเรื่อง: บทบาทของผู้สูงอายุกับการพัฒนาชุมชนย่อยที่ 14 (ป่ายาง) เทศบาลเมืองจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The role of the elderly on the development of subcommunity 14 (p yng), chnthburi municiplity
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ
อรรถชัย คล่องแคล่ว
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
การพัฒนาชุมชน -- จันทบุรี
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผู้สูงอายุกับการพัฒนาชุมชนย่อยที่ 14 (ป่ายาง) อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรีและเพื่อศึกษาการส่งเสริมบทบาทของผู้สูงอายุกับการพัฒนาชุมชนย่อยที่ 14 (ป่ายาง) เทศบาลเมืองจันทบุรีของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งสิ้นจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แนวคําถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่า บทบาทของผู้สูงกับการพัฒนาชุมชนย่อยที่ 14 (ป่ายาง) เทศบาลเมืองจันทบุรี สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ด้าน คือ 1) บทบาทด้านการพัฒนาชุมชนซึ่งผู้สูงอายุให้ความสําคัญมากที่สุด มีลักษณะทั้งแบบที่ไม่เป็นทางการและแบบที่เป็นทางการ 2) บทบาทด้านการนันทนาการ พบว่า ผู้สูงอายุมีความถนัดและความชื่นชอบในด้านนี้มากโดยมีหลายหน่วยงานที่ให้โอกาสผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมจนสามารถเป็นผู้นำกิจกรรมเองได้ 3) บทบาทด้านศาสนา พบว่า ผู้สูงอายุเข้าไปมีบทบาทในการเป็นคณะกรรมการวัดเพื่อพัฒนาศาสนาร่วมกับชุมชน 4) บทบาทด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณีพบว่า บทบาทของผู้สูงอายุในด้านนี้ค่อนข้างมีน้อยกว่าด้านอื่นด้วย เพราะสังคมคนเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ผู้สูงอายุยังคงสืบสานศิลปวัฒนธรรมประเพณีไทยกันมาอย่างต่อเนื่อง 5) บทบาทด้านการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุสามารถให้ความรู้และอุทิศตนเป็นวิทยากรให้กับนักศึกษาที่มาฝึกวิชาชีพได้ทั้งการศึกษาในระบบ และการศึกษานอกระบบ/ตามอัธยาศัย การส่งเสริมบทบาทของผู้สูงอายุกับการพัฒนาชุมชนย่อยที่ 14 (ป่ายาง) เทศบาลเมืองจันทบุรีสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) หน่วยงานภาครัฐเป็นหน่วยงานที่มีส่วนสำคัญ ที่สุดในการส่งเสริมบทบาทของผู้สูงอายุกับการพัฒนาชุมชนย่อยที่ 14 (ป่ายาง) โดยมีนโยบาย/โครงการ/กิจกรรม ที่ผลักดัน ให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน 2) หน่วยงานภาคเอกชน พบว่า หน่วยงานภาคเอกชนเข้ามีมาส่วนส่งเสริมบทบาทของผู้สูงอายุกับการพัฒนาชุมชน โดยเริ่มจากโครงการของมหาวิทยาลัยในโครงการอาสาพัฒนาภายหลังชุมชนโดยผู้สูงอายุได้เข้าร่วมกับมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาชุมชนหน่วยงานภาคประชาชน โดยบุคคลในครอบครัวเป็นผู้สนับสนุนการเดินทางและให้ความร่วมมือกับผู้สูงอายุในการทำกิจกรรม ตลอดจนประชาชนในชุมชนได้มีส่วนสนับสนุนด้านงบประมาณ และอุปกรณ์เพื่อใช้ในการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6263
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น