Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผู้สูงอายุกับการพัฒนาชุมชนย่อยที่ 14 (ป่ายาง) อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรีและเพื่อศึกษาการส่งเสริมบทบาทของผู้สูงอายุกับการพัฒนาชุมชนย่อยที่ 14 (ป่ายาง) เทศบาลเมืองจันทบุรีของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งสิ้นจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แนวคําถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่า บทบาทของผู้สูงกับการพัฒนาชุมชนย่อยที่ 14 (ป่ายาง) เทศบาลเมืองจันทบุรี สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ด้าน คือ 1) บทบาทด้านการพัฒนาชุมชนซึ่งผู้สูงอายุให้ความสําคัญมากที่สุด มีลักษณะทั้งแบบที่ไม่เป็นทางการและแบบที่เป็นทางการ 2) บทบาทด้านการนันทนาการ พบว่า ผู้สูงอายุมีความถนัดและความชื่นชอบในด้านนี้มากโดยมีหลายหน่วยงานที่ให้โอกาสผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมจนสามารถเป็นผู้นำกิจกรรมเองได้ 3) บทบาทด้านศาสนา พบว่า ผู้สูงอายุเข้าไปมีบทบาทในการเป็นคณะกรรมการวัดเพื่อพัฒนาศาสนาร่วมกับชุมชน 4) บทบาทด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณีพบว่า บทบาทของผู้สูงอายุในด้านนี้ค่อนข้างมีน้อยกว่าด้านอื่นด้วย เพราะสังคมคนเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ผู้สูงอายุยังคงสืบสานศิลปวัฒนธรรมประเพณีไทยกันมาอย่างต่อเนื่อง 5) บทบาทด้านการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุสามารถให้ความรู้และอุทิศตนเป็นวิทยากรให้กับนักศึกษาที่มาฝึกวิชาชีพได้ทั้งการศึกษาในระบบ และการศึกษานอกระบบ/ตามอัธยาศัย การส่งเสริมบทบาทของผู้สูงอายุกับการพัฒนาชุมชนย่อยที่ 14 (ป่ายาง) เทศบาลเมืองจันทบุรีสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) หน่วยงานภาครัฐเป็นหน่วยงานที่มีส่วนสำคัญ ที่สุดในการส่งเสริมบทบาทของผู้สูงอายุกับการพัฒนาชุมชนย่อยที่ 14 (ป่ายาง) โดยมีนโยบาย/โครงการ/กิจกรรม ที่ผลักดัน ให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน 2) หน่วยงานภาคเอกชน พบว่า หน่วยงานภาคเอกชนเข้ามีมาส่วนส่งเสริมบทบาทของผู้สูงอายุกับการพัฒนาชุมชน โดยเริ่มจากโครงการของมหาวิทยาลัยในโครงการอาสาพัฒนาภายหลังชุมชนโดยผู้สูงอายุได้เข้าร่วมกับมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาชุมชนหน่วยงานภาคประชาชน โดยบุคคลในครอบครัวเป็นผู้สนับสนุนการเดินทางและให้ความร่วมมือกับผู้สูงอายุในการทำกิจกรรม ตลอดจนประชาชนในชุมชนได้มีส่วนสนับสนุนด้านงบประมาณ และอุปกรณ์เพื่อใช้ในการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ