dc.contributor.advisor |
เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ |
|
dc.contributor.author |
อรรถชัย คล่องแคล่ว |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T02:39:18Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T02:39:18Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6263 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผู้สูงอายุกับการพัฒนาชุมชนย่อยที่ 14 (ป่ายาง) อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรีและเพื่อศึกษาการส่งเสริมบทบาทของผู้สูงอายุกับการพัฒนาชุมชนย่อยที่ 14 (ป่ายาง) เทศบาลเมืองจันทบุรีของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งสิ้นจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แนวคําถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่า บทบาทของผู้สูงกับการพัฒนาชุมชนย่อยที่ 14 (ป่ายาง) เทศบาลเมืองจันทบุรี สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ด้าน คือ 1) บทบาทด้านการพัฒนาชุมชนซึ่งผู้สูงอายุให้ความสําคัญมากที่สุด มีลักษณะทั้งแบบที่ไม่เป็นทางการและแบบที่เป็นทางการ 2) บทบาทด้านการนันทนาการ พบว่า ผู้สูงอายุมีความถนัดและความชื่นชอบในด้านนี้มากโดยมีหลายหน่วยงานที่ให้โอกาสผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมจนสามารถเป็นผู้นำกิจกรรมเองได้ 3) บทบาทด้านศาสนา พบว่า ผู้สูงอายุเข้าไปมีบทบาทในการเป็นคณะกรรมการวัดเพื่อพัฒนาศาสนาร่วมกับชุมชน 4) บทบาทด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณีพบว่า บทบาทของผู้สูงอายุในด้านนี้ค่อนข้างมีน้อยกว่าด้านอื่นด้วย เพราะสังคมคนเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ผู้สูงอายุยังคงสืบสานศิลปวัฒนธรรมประเพณีไทยกันมาอย่างต่อเนื่อง 5) บทบาทด้านการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุสามารถให้ความรู้และอุทิศตนเป็นวิทยากรให้กับนักศึกษาที่มาฝึกวิชาชีพได้ทั้งการศึกษาในระบบ และการศึกษานอกระบบ/ตามอัธยาศัย การส่งเสริมบทบาทของผู้สูงอายุกับการพัฒนาชุมชนย่อยที่ 14 (ป่ายาง) เทศบาลเมืองจันทบุรีสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) หน่วยงานภาครัฐเป็นหน่วยงานที่มีส่วนสำคัญ ที่สุดในการส่งเสริมบทบาทของผู้สูงอายุกับการพัฒนาชุมชนย่อยที่ 14 (ป่ายาง) โดยมีนโยบาย/โครงการ/กิจกรรม ที่ผลักดัน ให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน 2) หน่วยงานภาคเอกชน พบว่า หน่วยงานภาคเอกชนเข้ามีมาส่วนส่งเสริมบทบาทของผู้สูงอายุกับการพัฒนาชุมชน โดยเริ่มจากโครงการของมหาวิทยาลัยในโครงการอาสาพัฒนาภายหลังชุมชนโดยผู้สูงอายุได้เข้าร่วมกับมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาชุมชนหน่วยงานภาคประชาชน โดยบุคคลในครอบครัวเป็นผู้สนับสนุนการเดินทางและให้ความร่วมมือกับผู้สูงอายุในการทำกิจกรรม ตลอดจนประชาชนในชุมชนได้มีส่วนสนับสนุนด้านงบประมาณ และอุปกรณ์เพื่อใช้ในการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ผู้สูงอายุ |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน |
|
dc.subject |
การพัฒนาชุมชน -- จันทบุรี |
|
dc.title |
บทบาทของผู้สูงอายุกับการพัฒนาชุมชนย่อยที่ 14 (ป่ายาง) เทศบาลเมืองจันทบุรี |
|
dc.title.alternative |
The role of the elderly on the development of subcommunity 14 (p yng), chnthburi municiplity |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The objectives of this research were to study the role of the elderly on the development of subcommunity 14 (Pa Yang), Mueang District, Chanthaburi Province and to study the role of the elderly on the development of sub-community 14 (Pa Yang), Chanthaburi Municipality by both private and public sectors. From the study results, it was found that the role of the elderly on the development of subcommunity (Pa Yang), Chanthaburi Municipality could be divided into 5 aspects: 1. The role in the aspect of the development of community that was most valued by the elderly were both and informal and formal 2. The role in the aspect of recreation, it was found that the elderly had a lot of ability and passion in this aspect with there being many agencies that provided opportunities for the elderly to participate in activities to the point of being able to lead the activities themselves, 3. The role in the aspect of religion, it was found that the elderly had a role as a committee for religious development with the community, 4. The role in the aspect of traditional arts and culture, it was found that the role of the elderly in this field was somewhat less than other aspects because the society is changing. There were somewhat less elderly in this aspect than other aspects because the society is changing. However, the elderly still continued to pass on the Thai traditional arts and culture. 5. The role in the aspect of educational role, it was found that the elderly could provide knowledge and were also devoted as a lecturer to students who come to practice both the education system and informal / informal education. Promoting the role of the elderly on the development of sub-community 14 (Pa Yang), Mueang District, Chanthaburi Municipality could be divided into three groups: 1. The government agencies played the most important role in supporting the role of the elderly on the development of sub-community 14 (Pa Yang) that encourage the elderly to participate in the development, 2. The private sector played a role in promoting the role of the elderly on community development. It started from a university's project on development volunteers. The elders in the community and private sector joined the university for the development of community, 3. The public agencies played a role by family members sponsoring the travel and cooperating with the elderly in activities along with the people in the community having contributed to the budget and equipment to be used in the elderly activities. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน |
|
dc.degree.name |
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|