กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6250
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Decision-mking in furthering eduction t high school level or equivlence mong students in opportunity expnsion schools, chntburi bsic eductionl service re 1 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กาญจนา บุญยัง อารยา วงค์กุลพิลาศ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ |
คำสำคัญ: | นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย -- การศึกษาต่อ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา -- ไทย -- ชลบุรี นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย -- การตัดสินใจ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรีเขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสในเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรีเขต 1กลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 216 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใชส้ถิติ Chi-square tests เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปร ผลการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสในเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1 เกี่ยวกับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านบุคคลได้แก่ เพศและผลการเรียน ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ การรับรู้ ข่าวสารทางการศึกษาและการแนะแนวของคุณครูไม่มีความสัมพันธ์ต่อต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ปัจจัยด้านครอบครัวได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ปกครองอาชีพของผู้ปกครองและลักษณะครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น การศึกษาสูงสุดของผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจศึกษาต่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และสุดท้ายปัจจัยด้านจิตวิทยา ได้แก่ เจตคติต่อการเรียน การคล้อยตาม กลุ่มเพื่อน ค่านิยมทางการศึกษาของผู้ปกครองไม่มี ความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และเจตคติด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจศึกษาต่อของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6250 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 991.14 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น